🟡🟢ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เป็นประธานในการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจและมอบนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
แก่ผู้รับผิดชอบด้านนโยบายและแผนของคณะและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เป็นไปตามแผนดำเนินงานที่วางไว้
🗓️เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565
🕰️เวลา 13.00 - 16.00 น.
📌ณ ห้องประชุมภูมิทรรศนา สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น✨✨
เปิดรับข้อเสนอโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ศูนย์ประสานงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เปิดรับข้อเสนอโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่
🔸โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
🔸โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace
🔸โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
🔸โครงการตามบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
➡️สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการฯ ได้ที่ https://docs.google.com/…/1XP13ZamrG9Opo9rgaeXe…/edit…หรือสแกนผ่าน QR-code ตามรูปภาพประชาสัมพันธ์
➡️สามารถอ่านรายละเอียดตัวชี้วัดโครงการฯ ได้ที่ https://drive.google.com/…/106O9xOACMT00FjB2La1kTCz2PBr…หรือสแกนผ่าน QR-code ตามรูปภาพประชาสัมพันธ์
📌สามารถจัดส่งข้อเสนอโครงการฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ที่นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของคณะ เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นก่อนจัดส่งที่ศูนย์ประสานงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
ทาง E-mail : developpbru@mail.pbru.ac.th
📲ทั้งนี้สามารถติดต่อประสานงานสอบถามการยื่นข้อเสนอโครงการฯ เพิ่มเติม ได้ที่นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของคณะ และหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น

















มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี ภาคเอกชน แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 11 “ภูษา ภักษาหาร ผสานศิลป์” ชูเอกลักษณ์เมืองเพชรด้านเสื้อผ้าแต่งกาย อาหาร และศิลปวัฒนธรรม กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 5 – 7 ธันวาคมนี้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ พระนครคีรี
วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมพะนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อ.เมืองเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดงานแถลงข่าว มหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 11 (The 11th ASEAN Arts and Culture Exposition with International Performing Arts Festival) ภายใต้ชื่องาน “เทิดไท้จักริน หัตถศิลป์ ถิ่นพริบพรี เก็จมณี สู่อาเซียน” (ภูษา ภักษาหาร ผสานศิลป์) โดยมีพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นางวันเพ็ญ มังศรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายพันธุ์ธัช หิรัญจิรวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว โดยมีการเดินแบบในชุดผ้าไทยผลงานผ้าวิชาการ ร่วมกับแบรนด์ภูษาผ้าลายอย่าง และการแสดงชุดพัสตราอารยธรรม
พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนมีคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม มีการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น อาคารสถาบันช่างเมืองเพชรและศิลปะร่วมสมัย ศูนย์เรียนรู้เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ทำความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีศิลปะและวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือมีความใกล้เคียงกัน นำเสนอผ่านรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้เป็นปีที่ 11
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 11 ว่า มหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2554 ณ วัดพระพุทธไสยาสน์ และจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมาจำนวน 10 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2565 กำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 ซึ่งยังคงได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ รัสเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย เป็นต้น ในการนำชุดการแสดงมาเผยแพร่ให้ชาวจังหวัดเพชรบุรีและนักท่องเที่ยวได้รับชมตลอดการจัดงาน
“นับว่าเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายวิชาการด้านศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านจากภูมิภาคต่าง ๆ โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมมาเป็นสื่อกลางในการสร้างความปรองดองในภูมิภาคอาเซียน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อนุรักษ์ ส่งเสริม ฟื้นฟูและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของไทยและอาเซียน และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ชุมชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ” ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม กล่าว
นางวันเพ็ญ มังศรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวถึงแนวทางการมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรมว่า จังหวัดเพชรบุรีมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ซึ่งนอกจากจะมีอาหารที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจากยูเนสโกแล้ว ยังมีในเรื่องของผ้าที่นำเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีมาสร้างสรรค์ลงบนผืนผ้าได้ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในการออกแบบลายผ้าจากลายเสาศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณรามวรวิหาร จนได้ผ้าลายประจำจังหวัดเพชรบุรี “ผ้าลายสุวรรณวัชร์” ขณะที่ในเรื่องของความปลอดภัยของผู้ที่มาร่วมงานได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยตลอดการจัดงาน มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีให้การดูแลในเรื่องของการเฝ้าระวังตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ด้าน นายพันธุ์ธัช หิรัญจิรวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบุรี กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรี ผ่านงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ว่า จังหวัดเพชรบุรีมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพันธุ์อาหาร สินค้าต่าง ๆ ที่สามารถต่อยอดได้ ทางหอการค้าจังหวัดเพชรบุรีจึงได้ร่วมกับภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ในการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาจัดแสดงภายในงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงและเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับทราบว่าจังหวัดเพชรบุรีมีของดีอะไรบ้าง และยังเป็นการสร้างการรับรู้ถึงสินค้าของจังหวัดเพชรบุรีด้วย
ทั้งนี้ ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้กล่าวเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมรับชมงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 11 ที่ในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 -7 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนครคีรี (สนามหน้าเขาวัง) อ.เมืองเพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
#ข่าวโดยเพชรภูมิฮอตนิวส์




มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับโล่เชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ประเภทนิติบุคคล
เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้าร่วมกิจกรรมรับมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ประเภทนิติบุคคล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วย อ.ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ และบุคลากรของสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โดยประธานในพิธี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นผู้ทำคุณประโยชน์และมีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โดยสถาบันวิจัยได้รวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมย้อนหลัง 3 ปี เพื่อใช้ในการประกอบเข้ารับรางวัลในครั้งนี้
#ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม


มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมพิธีวางพวงมาลาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565 อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ร่วมกับ ผศ.ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ และนางสาวพิชชานันท์ กรีดกรายนักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เป็นตัวแทนสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมพิธีวางพวงมาลาแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันรัฐพิธี ที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันรัฐพิธีที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น ณ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท และพระที่นั่งราชธรรมสภา ภายในพระราชวังพระนครคีรี เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองเพชรบุรี ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน รวมทั้งทางด้าน ดาราศาสตร์ กล่าวได้ว่าเทียบเท่านักดาราศาสตร์สากล ทรงสามารถคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง ในพุทธศักราช 2411 ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นที่เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์นานาชาติ ส่วนการศึกษาของอาณาประชาราษฎร์ พระองค์ได้ทรงพัฒนาการศึกษาทั้งของข้าราชสำนัก และประชาชนทั่วไป ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียน ของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตกด้านต่างๆ