กระบวนการทำงาน รักษา สืบสาน ต่อยอด งานศิลปวัฒนธรรม ด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
🎋การพัฒนาศูนย์เรียนรู้พันธุ์ไผ่เพื่อศึกษา วิจัย และยกระดับรายได้ของชุมชนโป่งสลอด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง🎋
เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 66 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอดเพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้พันธุ์ไผ่เพื่อศึกษา วิจัย และยกระดับรายได้ของชุมชนโป่งสลอด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกิจกรรมดังกล่าวแบ่งกิออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไผ่ ได้แก่ สายพันธุ์ที่คัดเลือกมาลงปลูกในแปลง วิธีการดูแลรักษา การป้องโรคและแมลง เป็นต้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องไผ่ จากไร่ไผ่ทอง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
2.การอบรมเชิงปฏิบัติการลงแปลงสาธิตพันธุ์ไผ่ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนบ้านโป่งสลอด นำโดยผู้อำนวยการโรงเรียน นายเทิดศักดิ์ พราหมณ์ฤกษ์ พร้อมคณะครูและนักเรียน จำนวน 35 คน ได้ร่วมมือร่วมใจกันปลูกไผ่ จำนวน 12 สายพันธุ์ รวม 100 ต้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์ไผ่ แหล่งท่องเที่ยว และเพื่อการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มจากไผ่ของวิสาหกิจชุมชนโป่งสลอดต่อไป
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการและเสวนาวิชาการ “การจัดทำผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ “รูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันเครือข่ายภายนอกที่ดำเนินงานด้านบริการวิชาการรับใช้ท้องถิ่นและสังคมข้าร่วม โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรมโครงการ
อาจารย์ปองพล รักการงาน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนำเสนอผลงาน/รายงานความก้าวหน้างานวิชาการรับใช้สังคม แนะนำแนวทางการทำงาน กรอบงานวิจัย รวมทั้งแนวทางการใช้งานวิจัยชุมชนขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม
โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา จำปาทอง มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย
– ประมวลภาพประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมโครงการฯ ตามลิงก์ : https://drive.google.com/drive/folders/1E8beilBlXEj5rIhg19ReB_zZOepIVre2?usp=sharing
[เวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพของชุมชน (SWOT Analysis) สู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลชุมชนบ้านพะเนิน และบ้านแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี]
เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่จัดทำเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพของชุมชน (SWOT Analysis) สู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลชุมชนบ้านพะเนิน และบ้านแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ณ โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรมโครงการ
จากการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานโครงการฯ ได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงชุมชนในการสร้างสรรค์สินค้าทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายทะเล โดยจะนำประเด็นความต้องการของชุมชนมาดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป
– ประมวลภาพกิจกรรมตามลิงก์ : https://drive.google.com/drive/folders/1H0T7snkb7-nraP6NVc5ZLt3R_RY2ICSm?usp=sharing