เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นำโดย อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีโอกาสได้ต้อนรับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารินทร์ สุภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ และการบริหารจัดการส่วนงานด้านวัฒนธรรมในส่วนอื่นๆ เพื่อนำมาสู่การพัฒนางานด้านวัฒนธรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ในการนี้ อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ ผศ.ดร.วรรณวิภา มัธยนันท์รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับหน้าที่เป็นผู้นำชม “โครงการศูนย์เรียนรู้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยฝีมือช่างชั้นเอกเมืองเพชรบุรี” อันเป็นผลงานของช่างชั้นเอก สกุลช่างเมืองเพชร ในประเภทงานปูนปั้น อันเป็นหนึ่งในผลงานด้านความสำเร็จของการอนุรักษ์ รักษา และต่อยอด งานด้านส่งเสริมวัฒนธรรมของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอแสดงความยินดีกับ ช่างธานินทร์ ชื่นใจ กับรางวัล “ภูมิราชภัฏประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖” ครูภูมิปัญญาด้านฝีมือช่างดั้งเดิม (ลายรดน้ำ) ในงานการประชุมใหญ่สามัญสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๖๖ ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์สูจิบัตรนี้ https://online.anyflip.com/ulolj/xukz/mobile/index.html

ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในโอกาสได้รับรางวัล “ราชภัฏคุณากรประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖” ในงานการประชุมใหญ่สามัญสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๖๖ ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ร่วมการเดินแบบผ้าไทย “สิริพัสตรา สุราษฎร์ธานี” ในงานการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมการเดินแบบผ้าไทย “สิริพัสตรา สุราษฎร์ธานี” ในงานการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ Nora Buri Resort & Spa จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้นำชุดเดินแบบโมเดิร์นสไตล์ลายผ้าปลาทู ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจากศูนย์มะริด-สิงขรศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับความชื่นชอบอย่างมาก



นิทรรศการ “ผ้ายก พัสตราภรณ์ล้ำค่า ภูษาสองแผ่นดิน” Brocade Textile : Treasures of Two Nations และประทานรางวัลแก่ผู้มีคุณูปการต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิด ในงานการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ พร้อมด้วยบุคลากรของสำนักฯ เข้าเฝ้ารับเสด็จและถวายของที่ระลึก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สำหรับการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 เป็นความร่วมมือกันทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมในลักษณะเครือข่ายที่จะทำให้การดำเนินงานตามภารกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในด้านการสนับสนุน ถ่ายทอด ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพราะการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมจะลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนที่อาจทำให้สิ้นเปลือง ทรัพยากร บุคคลากร งบประมาณ และเวลา นอกจากนี้ การดำเนินงานในลักษณะเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมจะสร้างพลังในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายใหญ่เพื่อเชื่อมต่อโยงใย (Connect) บุคลากรที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะทำให้คนมาเจอกันได้อย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีพลังและต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม . โดยในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการผ้ายก พัสตราภรณ์ล้ำค่า ภูษาสองแผ่นดิน แบ่ง ออกเป็น 5 บูธ ประกอบด้วยบูธที่ 1 ผ้ายกไทย-อินโดนีเซีย บูธที่ 2 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคใต้ บูธที่ 3 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคกลาง บูธที่ 4 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคเหนือ และบูธที่ 5 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคอีสาน ซึ่งมรดกผ้ายกนับว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่นับว่าเป็นปัจจัยสี่ของมนุษย์ที่ต้องใช้เครื่องนุ่งห่มในการดำรงชีวิตประจำวัน ผ้ายกนูนมีความพิเศษที่มีลักษณะลวดลายของผ้าที่มีความแตกต่างออกไปตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงความประณีต วิจิตรงดงาม ที่แฝงความหรูหราของผู้ออกแบบ ที่สามารถนำไปสวมใสในวาระโอกาสพิเศษ เช่น งานมงคลต่าง ๆ งานเฉลิมฉลอง




ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๖๖ ของสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๖๖ ของสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี