🟡 🟢 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดส่งบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้แก่
1. นางสาวศศิวิมล กาหลง ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ หัวหน้างานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
2. นางสาววณิชยา ทองสมนึก ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ปฏิบัติการ สังกัด งานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒธรรม
3. นางสาวชลธิพา สุขดี ตำแหน่ง นักบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติการ สังกัด กลุ่มงานพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
👉เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน Social Impact Assessment (SIA) and Social Return on Investment (SROI)”
เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรม ด้านพัฒนาสังคม ด้านพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ทราบถึงผลลัพธ์ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) และความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมมาประยุกต์ใช้กับองค์กรอย่างเกิดประสิทธิผลสูงสุด
⏲️เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566
🏫ณ ห้องบรรยาย SC3-M18 อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ SC3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
#SROI
#SIA
#วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ๊งภากรณ์
#มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นงลักษณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้และปล่อยปลา เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วิทยาเขตโป่งสลอด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรม ร่วมด้วยนายสิทธิพร คงหอม นายอำเภอบ้านลาด ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตลอดจนคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งสลอดและโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม
อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า “จากนโยบายของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่จะพัฒนาพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอดและชุมชนใกล้เคียงให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และสร้างชุมชนโป่งสลอดและพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นชุมชนที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนา เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบ โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้ขยายพื้นที่พัฒนาเพิ่มเติม จำนวน 13 ไร่ บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านโป่งสลอดซึ่งอยู่ภายในวิทยาเขต เพื่อพัฒนาเป็นแปลงสาธิตการปลูกกาแฟ อะโวคาโด และพืชพื้นถิ่น ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ไผ่สายพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น และเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 จึงได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้และปล่อยปลานิลเพื่อการศึกษาและโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเครือข่ายโป่งสลอด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ชุมชนและผู้ที่สนใจ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เผยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นหน่วยงานอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น นอกเหนือจากการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่ท้องถิ่นแล้ว ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ พัฒนาท้องถิ่น โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีนวัตกรรมบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศชาติ รวมถึงการสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมในครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีหวังให้หน่วยงานชุมชน ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอดสู่แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริด้วยการทำแปลงเกษตรต้นแบบโดยใช้พลังงานทางเลือกสู่การจัดการเกษตรแบบอัจฉริยะ และส่งเสริมให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน”
นายสิทธิพร คงหอม นายอำเภอบ้านลาด กล่าวว่า “ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่ลงพื้นที่มาดำเนินกิจกรรมด้านพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอบ้านลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างการรับรู้ในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอำเภอบ้านลาด ตลอดจนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ และหากพื้นที่ได้รับการพัฒนาก็สามารถที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากในพื้นที่ได้มีรักษาและอนุรักษ์ในเรื่องของการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการขึ้นตาล การทำน้ำตาลโตนด และยังได้มีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการทำทองม้วนน้ำตาลโตนดที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีความกรอบ หอม หวานจากน้ำตาลโตนด” โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากคุณสุริยะ ชูวงศ์ ปราชญ์ของแผ่นดิน ที่ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การปลูกพืชเศรษฐกิจตามแนวคิดทฤษฎีใหม่”
ข่าวโดย #กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้นำตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมในประกวด การอ่านทำนองเสนาะในรอบตัดสิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 น. อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ในนามประธานสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นประธานในการจัดการประกวดการอ่านทำนองเสนาะ “สดับถ้อยร้อยกรองไทย ครั้งที่ 2” “เทิดไท้ทศมราชามหาจักรีวงศ์” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย
ณ หอประชุมพิฆเนศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อตัดสินหาผู้ชนะเลิศในการประกวดจากผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นำโดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ และบุคลากร ได้ส่ง นางสาวกรรณิการ์ สุกเกิน ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้าร่วมในการประกวดการอ่านทำนองเสนาะในรอบการตัดสินในครั้งนี้
โดยผลการตัดสิน มีดังนี้
- รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายปณรักษ์ สวัสดิ์โสภณ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นางสาวมัณฑนา ชุมพลปกรณ์
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง นายณัฐเศรษฐ บุญดีเวียง
- รางวัลชมเชย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นางสาวนรินรัตน์ สมพงษ์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นายภูริภัทร เข็มเพ็ชร์
- รางวัลชมเชยเข้าร่วม : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นางสาวกรรณิการ์ สุกเกิน , มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นางสาวกมลลักษณ์ พรหมทอง , มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นางสาวกมลลักษณ์ พรหมทอง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นางสาววาสนา อังเปรม
ขอบคุณภาพจาก: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมงานพิธีมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปี 2566
เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในนามประธานสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการ และบุคลากรสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากประธานสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย เข้าร่วมงานพิธีมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติพุทธศักราช 2566 จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัล ดังนี้
1. รางวัลจากกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- รางวัลองค์กรผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จำนวน 1 รางวัล
- รางวัลที่มอบให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ที่มีการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จำนวน 19 รางวัล
- รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จำนวน 4 รางวัล
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นจำนวน 11 รางวัล
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน 6 รางวัล
2. รางวัลเพชรในเพลง ที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร
- รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ จำนวน 2 รางวัล
- รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 4 รางวัล อันประกอบไปด้วย – คำร้องเพลงไทยสากล จำนวน 2 รางวัล – คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง จำนวน 2 รางวัล
- รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 8 รางวัล – ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย จำนวน 2 รางวัล – ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง จำนวน 2 รางวัล – ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จำนวน 2 รางวัล – ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จำนวน 2 รางวัล
3. รางวัลที่มอบให้แก่เยาวชน จำนวน 16 รางวัล
- รางวัลการประกวดเพลงแรป “มนต์รักษ์ภาษาไทย”จำนวน 5 รางวัล
- รางวัลการประกวดการแต่งบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน “ฉ่อย” จำนวน 5 รางวัล
- การอ่านทำนองเสนาะ “สดับถ้อยร้อยกรองไทย ครั้งที่ 2” จำนวน 6 รางวัล โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ร่วมการประกวดครั้งนี้ โดยได้ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายในการประกวดดังกล่าว
จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ขอบคุณ
ภาพจาก: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 2/2566
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดย หน่วยประสานงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 2/2566 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้มอบนโยบายการทำงานให้แก่คณะกรรมการ และได้ร่วมกันกำหนดปฏิทิน วางแผนการดำเนินงานในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกำกับติดตามโครงการฯ พร้อมจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ชุมชนเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในรูปแบบนิทรรศการ รวมถึงการจัดทำรายงานสังเคราะห์ผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงได้ระดมความคิด ร่วมกันเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
เมื่อวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป โดยการประชุมในรูปแบบออนไลน์ ด้วยการใช้งานโปรแกรม Google Meet
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น