มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประชาสัมพันธ์การส่งบทความวิจัยในวารสาร “งานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ”
Auto-Color202204120106นงลักษณ์
สมาคมวิจัยและสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์โครงการอบรมทางวิชาการ 2565 จำนวน 8 หลักสูตร ผ่านรูปแบบออนไลน์ โดยสามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ http://portal.edu.chula.ac.th/pub/reseddb/ssrat/Auto-Color202204120105
สถาบันวิจัยฯ ร่วมกับหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดเพชรบุรี เป็นเจ้าภาพ การประชุมประจำปีภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมกลุ่มจังหวัดประจำปี พ.ศ. 2565
สถาบันวิจัยฯ ร่วมกับหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดเพชรบุรี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมประจำปีภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมกลุ่มจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2565
ในวันที่ 7 เมษายน 2565 ผศ.ดร. เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประธานในพิธีการเปิดการประชุม โดยได้รับเกียรติจาก นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชบุรี นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด และร่วมต้อนรับแขกผู้เข้าร่วมประชุม
โดยมี ผศ.พจนารถ บัวเขียว ที่ปรึกษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมกลุ่ม 12 เพชรสมุทรคีรี (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี) เป็นที่ปรึกษาการดำเนินการจัดงานและกิจกรรมในครั้งนี้
ในการจัดการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในการดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นทั่วประเทศ
2. เกิดความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในหน่วยงานราชการ และชุมชนในท้องถิ่น
3. เกิดการประสานงาน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการทำลาย และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
4. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อให้การบริหารงาน การดำเนินงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมกลุ่มจังหวัด เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
โดยกำหนดให้มีการจัดงานระหว่างวันที่ 7 – 8 เมษายน 2565 ณ โรงแรมลองบีชชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจาก 76 จังหวัด มากกว่า 200 คนเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย
1. การจัดกิจกรรม “เลาะชายหาด เลียบสะพานปูชัก รักษ์วิถีชาวเล” จัดให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าร่วมกิจกรรมชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน และเลือกซื้อหาอาหารทะเลสดใหม่ เป็นการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือชาวบ้านและชาวประมง
2. กิจกรรม การบรรยายพิเศษเรื่อง “แหล่งศิลปกรรมกับวิถีชีวิตก่อเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ อัตลักษณ์ระดับโลก” การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรที่มีความหลากหลายทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. รศ.สุนันท์ นีลพงษ์ บรรยายพิเศษด้านภูมิปัญญา ในฐานะประธานสมาคมกลุ่มคนรักเมืองเพชร 2.นายชัชวาล สหัสสพาศน์ ผู้มีความรู้และความสามารถด้านปูนปั้น และ 3.นายประวิทย์ เครือทรัพย์ เจ้าของธุรกิจขนมหวานลุงเอนก
3. การประชุมภาคีเครือข่ายในชี้แจงการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ การจัดทำแผนงานโครงการประจำปีงบประมาณ 2566-2567 การทดลองเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูล culturalenvi.onep.go.th เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดส่งแผนงานโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 และการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 และการรายงานผลการดำเนินดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัด 18 กลุ่ม
4. การศึกษาดูงานศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
เส้นทางที่ 1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
เส้นทางที่ 2. ขึ้นพะอง ชมดงตาล : วิถีชีวิตคนเมืองเพชร
เส้นทางที่ 3. นมัสการหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่ศรัทธา ชมสถาปัตยกรรมปูนปั้น เอกลักษณ์เมืองเพชร
5. กิจกรรมการแสดงต้อนรับ ชุด Phetchaburi Gastronomy และการแสดงในงานเลี้ยงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานชุด รำซัดชาตรี และรำวงเพชรบุรี โดยสาขานาฏศิลป์ศึกษา อำนวยการแสดงโดย ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผศ.พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผศ.อัญชนา พานิช คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผศ.รพีพรรณ เทียมเดช ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ฝึกซ้อมโดย สาขานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำโดย ผศ.จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน ประธานสาขานาฏศิลป์ศึกษา ผศ.ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ และอาจารย์ศิริวัฒน์ ขำเกิด
6. พิธีมอบธงเจ้าภาพการประชุมประจำปีภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 ให้แก่ หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมในปีถัดไป
รูปภาพเพิ่มเติม กดที่นี่
ดำเนินงานโดย ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด “ท่องเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ มหัศจรรย์เมืองสามอ่าวและงานกาชาด” ประจำปี 2565
📍วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 19.00 น.
ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และผศ.พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน “ท่องเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ มหัศจรรย์เมืองสามอ่าว และงานกาชาด” ประจำปี 2565 ณ บริเวณ สวนสาธารณะเมืองประจวบคีรีขันธ์
โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ร่วมกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการรังสรรค์การแสดงพิธีเปิดชุด “เมืองของพ่อ เล่าขานคีรีขันธ์ มหัศจรรย์เมืองสามอ่าว” เล่าขานตำนาน ความสวยงาม และความเป็นเลิศของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
องก์ 1 “ประจวบ” นามเมืองเรืองนามก้อง สากล เล่าเรื่องเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองอันน่าอัศจรรย์ที่รายล้อมไปด้วยเทือกเขาและ 2 คาบมหาสมุทร มีเขาสามร้อยยอดศักดิ์สิทธิ์ ผ่านนิทานท้องถิ่น ตาม่องล่าย ที่ขนานนามเมือง เพราะพื้นที่อันสมบูรณ์จึงเกิดภูมิสถานชื่อย่านโบราณ ทั้ง หัวหิน บางสะพาน กุยบุรี ปราณบุรี ทับสะแก เมืองที่มีทั้งแร่และทองคำเนื้อดี สมคำที่บ่งชี้ว่า “เมืองกำเนิดนพคุณ”
องค์ 2 “เมืองประจวบ” พระสถิตพระมาดล น่านฟ้า แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งบูรพมหากษัตริยาธิราชจักรีวงศ์ เทิดพระนามแห่งองค์ พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ผู้ทรงพระราชทานนามแห่งเมืองประจวบคีรีขันธ์ ให้เคียงคู่ เมืองปัจจันตคีรีเขตต์ เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ในน่านน้ำสยามประเทศ อัศจรรย์วิเศษพระปรีชาสุริยุปราคาที่หว้ากอ อีกพระผู้สร้าง พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ พระปิยะมหาราชสยามินทร์ อีกบารมีพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง วังไกลกังวล อันเลิศล้นทิพยสถานทั้งทรงงานและสำราญพระราชหฤทัย องค์ภูวไนยธิบดินทร์ ก่อเกิด อ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการตามพระราชดำริแห่งแรกของกรมชลประทาน เพราะพระบริบาลพสกไทยไร้ทุกข์เข็ญ ร่มเย็นด้วยพระเมตตา อีกองค์สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นห่วงและทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้อนุรักษ์ป่า และ ช้างไทย เชิดชูให้อยู่คู่แผ่นดิน สืบนาถนรินทร์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหนุนเนื่องสืบสานพระราชปณิธานมหาบพิตร รังสฤษฏ์เมืองประจวบคีรีขันธ์
องก์ 3 เสน่หา “ประจวบคีรีขันธ์” มหัศจรรย์แห่งอ่าวไทย เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ คำขวัญประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าขานเมืองที่เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคใต้ ความงามของเมืองที่มีพื้นที่ยาวที่สุด และ แคบที่สุดของประเทศไทย มีหาดทรายขาวสะอาดทอดยาวโอบน้ำทะเลไว้ถึง ๓ อ่าว เพียบพร้อม มีป่าไม้งามตระการ มีอุทยานแห่งชาติอีกนับคณา มีแม่น้ำปราณบุรี มีพืชเศรษฐกิจอย่างมะพร้าวและสับปะรดเป็นผลผลิตที่สร้างชื่อลือเลื่อง มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนสุดจะพรรณนา จึงหลอมรวมก่อเข้าเป็นดินแดนที่แสนจะสุดเสน่หาซาบซึ้งตรึงตราของเมืองประจวบคีรีขันธ์ “มหัศจรรย์แห่งอ่าวไทย”
อำนวยการแสดงโดย ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผศ.พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผศ.อัญชนา พานิช คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผศ.รพีพรรณ เทียมเดช ที่ปรึกษาอธิการบดี
ฝึกซ้อมโดย ผศ.จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน ประธานสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา ผศ.ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ อาจารย์วิไลวรรณ ไชยลังการ และอาจารย์ศิริวัฒน์ ขำเกิด
เขียนบทและบันทึกเสียงโดย อาจารย์จตุพร บุญประเสริฐ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และอาจารย์พิชาภพ บุญเลิศ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ
การแสดงโดย นักศึกษาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดำเนินงานโดย ฝ่ายงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”
ในวันที่ 19-20 มีนาคม 2565
ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดการอบรม “การพัฒนาคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” แบบในที่ตั้ง ณ ห้องร่มฉัตรบารมี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM วัตถุประสงค์ของโครงการคือเพื่อให้ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และคณะกรรมการสมทบฯ ของมหาวิทยาลัย มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ตามที่กำหนดในกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยเรื่องจริยธรรมการวิจัย โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ สุดหนองบัว จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะทำงานติดตามและประเมินผลทางวิชาการ โครงการจัดทำคู่มือมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 90 คน ผ่านรูปแบบออนไลน์ จำนวน 65 คน และในที่ตั้ง จำนวน 25 คน
ดำเนินการจัดอบรมโดย ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นที่ปรึกษาการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้าชมพู่เพชร
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ว่าที่ ร.ต.อาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วย นางสาวสุจิรา กิจเจริญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และ อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ แดงฉ่ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในฐานะที่ปรึกษาการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้าชมพู่เพชร ร่วมกับเกษตรอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมประชุมคณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการ ผลิตและจำหน่ายสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ชมพู่เพชร” โดยมี เกษตรจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม SU 504 อาคารนิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อร่วมกันพิจารณายกร่างขั้นตอนการทำงานจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยสินค้าชมพู่เพชร ของคณะทำงานฯ แนวทางการลงพื้นที่ตรวจประเมินฯ แผนการดำเนินงาน และการประเมินคุณภาพฯ รวมถึงแผนการสรุปผลการลงพื้นที่ตรวจประเมินฯ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ที่สนใจขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI ชมพู่เพชร ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกัน