นงลักษณ์






สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาแผนงาน/ข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก
1 อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนงาน/ข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก โดยมีนักวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้าร่วมโครงการ ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 โรงเรียนการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานเปิดโครงการ และได้รับเกียรติจากอาจารย์สุนันทา สมพงษ์ ที่ปรึกษาวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นผู้ให้คำแนะนําในการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ
สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ อยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักวิจัยแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอกและต่อยอดเชิงพาณิชย์ของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการแสวงหาแหล่งทุนภายนอกนั้นกลยุทธ์หนึ่งที่จะนําไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย คือการสร้างเสริมองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย พัฒนาโจทย์วิจัยในลักษณะบูรณาการ และพัฒนาการเขียน ข้อเสนอโครงการวิจัยให้มีความสมบูรณ์ตรงตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่แหล่งทุนกําหนด เพื่อนํามาสู่การได้รับจัดสรรทุนวิจัยที่มีประสิทธิผล และตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยดังกล่าว และทุนอื่นๆ
#กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สามารรถดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ ที่นี่






เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผศ.ดร. เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ ผศ. พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี และคณะทำงาน เข้าร่วมพิธีเปิดงานมรดกถ้ำรงค์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ในช่วงเวลา 19.00 น. ณ สนามโรงเรียนถ้ำรงค์ ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ สำนักงานประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมจัดนิทรรศการผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด โดยเนื้อหาภายในนิทรรศการมีเสนอผลิตภัณฑ์จากใยตาลอันเป็นผลมาจากการศึกษาพืชเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่สู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ที่สามารถนำองค์ความรู้กลับคืนสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้อย่างยั่งยืน อาทิ ขนมเค้ก โดนัท สบู่ขมิ้นใยตาล กระถางใยตาล และบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุไข่จากใยตาล เป็นต้น
โดยนิทรรศการดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 1 เมษายน พ.ศ.2566 ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป
ณ บริเวณสนามโรงเรียนถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
การเปรียบเทียบกระบวนการดำเนินงานด้านการจัดซื้อ/จ้าง วัสดุและครุภัณฑ์ของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ฝ่ายงานบริหารงานทั่วไปได้มีการเสนอแนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายการดำเนินงานโครงการของสถาบันวิจัย ในคราวการประชุมกรรมการบริหารสถาบันวิจัยฯ ครั้งที่ 3 / 2565 วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมภูมิทรรศนา สถาบันวิจัยฯ