🎋การพัฒนาศูนย์เรียนรู้พันธุ์ไผ่เพื่อศึกษา วิจัย และยกระดับรายได้ของชุมชนโป่งสลอด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง🎋
เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 66 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอดเพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้พันธุ์ไผ่เพื่อศึกษา วิจัย และยกระดับรายได้ของชุมชนโป่งสลอด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกิจกรรมดังกล่าวแบ่งกิออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไผ่ ได้แก่ สายพันธุ์ที่คัดเลือกมาลงปลูกในแปลง วิธีการดูแลรักษา การป้องโรคและแมลง เป็นต้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องไผ่ จากไร่ไผ่ทอง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
2.การอบรมเชิงปฏิบัติการลงแปลงสาธิตพันธุ์ไผ่ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนบ้านโป่งสลอด นำโดยผู้อำนวยการโรงเรียน นายเทิดศักดิ์ พราหมณ์ฤกษ์ พร้อมคณะครูและนักเรียน จำนวน 35 คน ได้ร่วมมือร่วมใจกันปลูกไผ่ จำนวน 12 สายพันธุ์ รวม 100 ต้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์ไผ่ แหล่งท่องเที่ยว และเพื่อการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มจากไผ่ของวิสาหกิจชุมชนโป่งสลอดต่อไป
นงลักษณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการและเสวนาวิชาการ “การจัดทำผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการและเสวนาวิชาการ “การจัดทำผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ “รูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันเครือข่ายภายนอกที่ดำเนินงานด้านบริการวิชาการรับใช้ท้องถิ่นและสังคมข้าร่วม โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรมโครงการ
อาจารย์ปองพล รักการงาน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนำเสนอผลงาน/รายงานความก้าวหน้างานวิชาการรับใช้สังคม แนะนำแนวทางการทำงาน กรอบงานวิจัย รวมทั้งแนวทางการใช้งานวิจัยชุมชนขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม
โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา จำปาทอง มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย
– ประมวลภาพประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมโครงการฯ ตามลิงก์ : https://drive.google.com/drive/folders/1E8beilBlXEj5rIhg19ReB_zZOepIVre2?usp=sharing
การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลชุมชนบ้านพะเนิน และบ้านแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
[เวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพของชุมชน (SWOT Analysis) สู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลชุมชนบ้านพะเนิน และบ้านแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี]
เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่จัดทำเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพของชุมชน (SWOT Analysis) สู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลชุมชนบ้านพะเนิน และบ้านแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ณ โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรมโครงการ
จากการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานโครงการฯ ได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงชุมชนในการสร้างสรรค์สินค้าทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายทะเล โดยจะนำประเด็นความต้องการของชุมชนมาดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป
– ประมวลภาพกิจกรรมตามลิงก์ : https://drive.google.com/drive/folders/1H0T7snkb7-nraP6NVc5ZLt3R_RY2ICSm?usp=sharing
ประชุมแผนการดำเนินงานพัฒนาต่อยอดโครงการพัฒนาศักยภาพของชุมชนผู้ผลิตโกโก้สู่การค้าเชิงพาณิชย์ ชุมชนช้างแรก ในปี พ.ศ.2566
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ผศ.พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาจารย์โรงเรียนการอาหารนานาชาติและบุคลากรสถาบันวิจัยฯ ได้ลงพื้นที่ตำบลบางสะพานน้อย เพื่อเข้าพบนายนายอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้ในปี พ.ศ.2565 และแผนการดำเนินงานพัฒนาต่อยอดโครงการพัฒนาศักยภาพของชุมชนผู้ผลิตโกโก้สู่การค้าเชิงพาณิชย์ ชุมชนช้างแรก ในปี พ.ศ.2566 โดยได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมการอบรม เรื่องการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ “บีนทูบาร์ช็อคโคแลต” จังหวัดจันทบุรี ผู้ผลิตช็อคโกแลตแท้ 100% และสวนสุริยาโกโก้ จังหวัดจันทบุรี เพื่อนำความรู้มาพัฒนาและเขียนแผนการพัฒนาโครงการ รวมไปถึงรูปแบบการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ การเก็บข้อมูลชุมชนและช่องการจัดจำหน่าย
ณ ที่ว่าการอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การพัฒนาโรงสีข้าวชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการ ได้มีการลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการวางแผนพัฒนาศักยภาพชุมชนนาแปลงใหญ่บางสะพาน จกรรม การพัฒนาโรงสีข้าวชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในฐานะมหาวิทยาลัยฯ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในการวางแผนพัฒนาศักยภาพชุมชนนาแปลงใหญ่บางสะพาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว มีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชุมชนนาแปลงใหญ่ในการพัฒนาโรงสีข้าวชุมชนให้มีคุณภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการโรงสีข้าวชุมชน สู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ และสามารถนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีนายประยูร ไพรพล ประธานกลุ่มฯ และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลธงชัย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นในการพัฒนาศักยภาพชุมชนนาแปลงใหญ่บางสะพาน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากกลุ่มวิสาหกิจข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ต้นแบบโรงสีแห่งความสุข วิสาหกิจชุมชนตำบลไร่มะขาม ไปดำเนินการในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์
ณ ชุมชนเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โครงการการพัฒนาและยกระดับการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยสู่มาตรฐานและการค้าเชิงพาณิชย์
🍍โครงการการพัฒนาและยกระดับการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยสู่มาตรฐานและการค้าเชิงพาณิชย์🍍
เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 66 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วย จำกัด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อดำเนินงานโครงการการพัฒนาและยกระดับการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยสู่มาตรฐานและการค้าเชิงพาณิชย์ โดยโครงการการดังกล่าวดังแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสับปะรดพันธุ์แกะตาและปัตตาเวีย วิธีการเลือกหน่อพันธุ์, โรคและแมลง, วิธีป้องกันและกำจัดแมลง รวมถึงการจัดการแปลงและการเก็บเกี่ยว โดยมีผู้เข้ารวมอบรม 56 คน
2. ในวันที่ 10 มีนาคม 66 ได้รับเกียรติจากนายกองโทสมศักดิ์ แย้มพันธุ์นุ้ย นายอำเภอชะอำ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากผู้เข้าอบรมซึ่งมาจากผู้นำชุมชน และนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนขุนห้วยแล้ว ยังได้รับเกียรติจากภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยเกษตรอำเภอชะอำ สำนักงานพัฒนาที่ดินเพชรบุรี ชุดปฏิบัติการโครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย โดยได้ร่วมมือร่วมใจกันปลูกสับปะรด จำนวน 5,000 หน่อ เพื่อจะสร้างเป็นแปลงต้นแบบการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนดอนขุนห้วย และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนดอนขุนห้วยและการค้าเชิงพาณิชย์ในอนาคตต่อไป
ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 เพื่อสำรวจความต้องการในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปี 2566
(ในรูปแบบประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566
เวลา 13.30 - 15.30 น.
ณ ห้องประชุมภูมิรักษ์ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น