เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์ อาลัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมบุคลากรสถาบันวิจัยฯ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ในการร่วมกันแลกเปลี่ยนและศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารงานวิจัยที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ณ ห้องประชุมราชภัฏสภา ชั้น 9 อาคารวิทยาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นงลักษณ์
🥭การแปรรูปและสร้าง มูลค่าเพิ่มจากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้มีคุณภาพและสร้างรายได้💰
ในวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยอาจารย์คณะทำงาน ดำเนินการจัดโครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตำบลศาลาลัยสู่ต้นแบบการบริหารจัดการมะม่วงแบบครบวงจร ณ ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านวิทยากร ดร.ปัณรสี สู่ศิริรัตน์ ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างนวัตกรรมน้ำตบสกินแคร์เซรั่มและมาร์คหน้าจากสารสกัดกรดแลคติกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนในเรื่องผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ตกไซด์ไม่ได้มาตรฐานในการส่งออกและเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดจึงได้คิดและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลศาลาลัยให้มีคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมงาน“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)
จาก “โกโก้” ชุมชนช้างแรก สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปี 2566
เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลาลักษณ์ นวมสำลี รองประธานกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ศิริธนาวงศ์ กรรมการ อาจารย์ ดร.จุติพร อินทะนิน กรรมการและเลขานุการ นางสาวณัฏฐณิชา สาวสวรรค์ ผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีบังบ่งชี้ที่ได้รับการตรวจประเมิน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้บังคับ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ ตัวชี้เฉพาะจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ โดยผลการประเมิน พบว่า สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้คะแนนการประเมิน 4.89 ระดับดีมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารของหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามภารกิจ (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 การส่งเสริมการใช้งานวิเคราะห์ หรืองานวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 ระดับความสำเร็จของการให้บริการ มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งที่ที่ 1.4 ระดับความผูกพันของบุคลากร มีผลการประเมิน 4.73 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ระดับความสำเร็จการพัฒนาสู่สำนักงานสีเขียว (Green office) มีผลการประเมิน 4 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบการพัฒนาบุคลากร มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของผู้บริหารระดับหน่วยงาน มีผลการประเมิน 4.72
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมจากภายนอกของนักวิจัยประจำของสถาบัน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 จำนวนผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 การพัฒนาท้องถิ่น มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
จากผลการประเมินสถาบันวิจัยฯ มีจุดเด่นในการดำเนินงาน ดังนี้
- บุคลากรมีความสามารถตามสมรรถนะของหน่วยงาน
- บุคลากรมีจิตบริการ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีการให้บริการที่ดีทั้ง 3 พันธกิจ การวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปะวัฒนธรรม ทั้งในด้านการประสานงานโครงการ การติดตามที่ดี การเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นไปตามกรอบเวลา
- มีกลไกในการสนับสนุนในการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอก
- ได้รับการจัดสรรงบประมาณการทำงานบริการวิชาการเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ / แนวทางเสริมจุดแข็งที่ต้องการ
- ควรมีการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
- เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และการยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคลากรที่ได้รับทุนวิจัย หรือได้รับการตีพิมพ์
ด้านวิจัย
- พัฒนาฐานข้มูลบริหารงานวิจัยทุกแหล่งทุน ครอบคลุมระบบบริหารโครงการ การเผยแพร่ผลงานวิชาการ
- การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติ เช่น การตรวจเช็คภาษา
- เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ถึงระดับสาขาวิชา
ด้านบริการวิชาการ
- พัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการ ด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม
- พัฒนาฐานข้อมูลกลางบริการวิชาการ
- ควรมีจัดสรรภาระงานที่เหมาะสมกับงานบริการวิชาการ เพื่อสร้างแรงจู.ใจในการทำงานบริการวิชาการ
การพัฒนาองค์ความรู้การขอยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ตำบลศาลาลัย
ในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยอาจารย์คณะทำงาน ดำเนินการจัดโครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้แนวทางในการขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์GI และการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ณ ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ท่านวิทยากร อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ แดงฉ่ำถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่อง ความสำคัญ กระบวนการหรือวิธีการขั้นตอนในการขอยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์รวมถึงการเตรียมข้อมูล ระเบียบและข้อกฎหมายในการขอยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เป็นต้น
ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและได้รับการส่งออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลศาลาลัย