🟡🟢
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกชุมชนต้นแบบ ประจำปี 2565 เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ติดตามงานของคณะองคมนตรี
🗓️เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566
🕰️เวลา 13.30 - 15.00 น.
📌ณ ห้องประชุมภูมิทรรศนา สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น✨✨
นงลักษณ์
วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว ผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพรรณ เทียมเดช ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมการแสดง”ละคร(รฦก) เมรี มโนราห์” โดยละครชาตรีเล่นในท้องเรื่องพระรถเมรี ศิลปินคิดบวกสิปป์และคณะทำงานจากภัทราวดีเธียร์เตอร์เล่นในท้องเรื่องพระสุธน-มโนราห์ โดยนักแสดงฝีมือชั้นบรมครู
โดยกิจกรรมนี้ อยู่ภายใต้โครงการศิลปะบำรุงธรรม เพื่อใช้ศิลปะการแสดงบำรุงศิลปะและศาสนา สถาปัตยกรรมทั่วประเทศ ในกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดสระบัว ด้วยความร่วมมือระหว่างศิลปินคิดบวกสิปป์ คณะละครชาตรีเมืองเพชร เป็นกิจกรรมการกุศล ทั้งนี้สาจานาฏศิลป์ศึกษาได้นำนักศึกษาเข้าร่วมแสดงในกิจกรรมดังกล่าว
สามารถบริจาคได้เลขบัญชี ธ.ออมสิน 020227002159 ชื่อบัญชีวัดสระบัว โดยตรง การแสดงนี้ไม่มีการหักค่าใช้จ่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมกับ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ขอเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการและเสวนาวิชาการ “การจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านการรับใช้ท้องถิ่นและสังคม”
ในวันพุธที่ 15 มีนาคม 2566
เวลา 09.00 -12.00 น. (ในรูปแบบออนไลน์)
วิทยากรโดย… รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผศ.ดร.กัลยา จำปาทอง มหาวิทยาลัยพะเยา ผศ.ดร.พลภัทร เหมวรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บุคลากรผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ สามารถสแกนการตอบรับผ่าน QR-code ตามรูปภาพประชาสัมพันธ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร. 032-708608, 095-1642920
#ฝ่ายงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ #สถาบันวิจัยฯ #มรภเพชรบุรี
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และบุคลากรงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วมประชุมเตรียมงานโครงการงานมรดกถ้ำรงค์ประจำปี 2566 โดยในการดำเนินการในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีสนับสนุนการจัดนิทรรศการเชิงวิชาการตาลโตนดเมืองเพชร โดยมีการออกร้านและนิทรรศการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับตาลโตนด อาทิ โดนัทตาลโตนด เค้กลูกตาล เป็นต้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2566 ณ สนามกีฬา โรงเรียนวัดถ้ำรงค์
ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนงานท้องถิ่นและชุมชนด้านงานศิลปวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงความยั่งยืนพร้อมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ท้องถิ่น โดยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอันจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษา บุคลากร ที่สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เนื่องจากภายในงานมีกิจกรรมมรดกท้องถิ่น เช่น นิทรรศการบ้านช่าง นิทรรศการวัวสวยงาม นิทรรศการตีมีด นิทรรศขนมและอาหารท้องถิ่น เป็นต้น
#ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม #สถาบันวิจัยฯ #มหาวิทยาลัยราชภักเพชรบุรี
การประชุมเตรียมความพร้อมการพัฒนาและยกระดับการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยสู่มาตรฐานและการค้าเชิงพาณิชย์
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วยจำกัด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการ ประชุมเตรียมความพร้อมการพัฒนาและยกระดับการปลูกสับปะรดดอนขุนห้วยสู่มาตรฐานและการค้าเชิงพาณิชย์ ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วย เกษตรอำเภอชะอำ สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเพชรบุรี และชุดปฏิบัติการโครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย โดยกิจกรรมการดำเนินงานโครงการในปีงบประมาณ 2566 นี้ มุ่งเน้นการปลูกสับปะรดสายพันธุ์แกะตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความหวานและเป็นเอกลักษณ์ ส่วนใหญ่ประชาชนปลูก จึงทำให้ผลผลิตล้นตลาด และสายพันธุ์ปัตตาเวียที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งโรงงาน ดังนั้นจึงได้ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ แปลงสาธิตที่จะเกิดขึ้นจะเป็นต้นแบบของการปลูกสับปะรดปลอดภัย และสามารถนำมาทำเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ชุมชนดอนขุนห้วยอีกด้วย โครงการนี้จึงมุ่งเน้นแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างครบวงจร