
ที่มาของข่าว :
ที่มาของข่าว :
ตามที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบายสนับสนุนให้อาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีโอกาสร่วมปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการที่มีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติ และเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายในการดำเนินโครงการวิจัย อีกทั้งยังได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยร่วมกับศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) นำไปสู่การเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูงของประเทศและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในการนี้ จึงประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประเภทศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor)
สำหรับ ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนวิจัยประเภทศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) สามารถส่งข้อเสนอได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 มีนาคม 2568 โดยผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ตามที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสายสนับสนุนให้สู่การเลื่อนตำแหน่ง (R2R) และ มีบุคลากรสายสนับสนุนที่เข้าร่วมโครงการส่งข้อเสนอโครงการวิจัยและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนั้น
ในการนี้ จึงประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ (R2R) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดยโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนนั้น ให้หัวหน้าโครงการวิจัยดำเนินการทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยโดยส่งเอกสารสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยที่สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 16.30 น. หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ถือว่าสละสิทธิ์การรับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย
ประกาศ ทุนสนับสนุนการวิจัย R2R
อาจารย์ณปภา หอมหวล รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยบุคลากรฝ่ายฯ ร่วมประชุมกับอำเภอแก่งกระจานและโครงการปิดทองหลังพระอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นำโดย นายสมหวัง คนซื่อ ปลัดอำเภอแก่งกระจาน เพื่อประชุมวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชนในการยกระดับพืชท้องถิ่น ได้แก่ “พริกพราน” เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวบ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
โดยมีการวางแผนการดำเนินงานและประสานการทำงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาชนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริชุมชนบ้านโป่งลึก-บางกลอย
สถาบันวิจัยฯ จัดอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบ่มเพาะข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก (SF69) ในระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2568 ณ ห้องร่มฉัตรบารมี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักวิจัยด้านการเขียนแผนงาน/โครงการวิจัย เพื่อให้สามารถขอรับทุน Strategy Fund (SF) ประจำปีงบประมาณ 2569 และทุนอื่น ๆ ได้
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับชาติมาแนะนำการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ตอบโจทย์จากแหล่งทุนที่กำหนด ได้แก่
1. อาจารย์สุนันทา สมพงษ์
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ สมพงษ์
3. อาจารย์ธงชัย พงษ์วิชัย
📌สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จังหวัประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 21 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นจากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงาน เครือข่ายการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
🍀สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
🍀เครือข่าย ทสม. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
🍀เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
ร่วมจัดทำแผนดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดคีรีขันธ์
🎯โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะต้นทาง ชุมชนหญ้าแก้ว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในการดำเนินการปี 2568 กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานร่วมกันใน 4 ประเด็นได้แก่
⭐️ ประสานแผนงานเพื่อการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่าย
⭐️ พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายแกนนำ ทสม. ให้มีความรู้ตามตัวชี้วัดมุ่งเน้นการจัดเก็บข้อมูลเชิงสถิติ
⭐️ ยกระดับศูนย์จัดการขยะต้นทางให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนคาร์บอนต่ำ
⭐️ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมในชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
🔮ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568🗓️
📔🖌️มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นจากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน
📔🖌️ดำเนินการจัดโครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้แนวทางในการขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์GI บ้านศาลาลัย ระยะที่2 (ครั้งที่1)
ณ ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
✨ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์🥭🌳
เพื่อการต่อยอดส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและได้รับการส่งออกแบบครบวงจรซึ่งเป็นการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
👉โดยได้รับเกียรติจาก คุณขวัญธิดา ขวัญเกิด นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ พาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เป็นวิทยากรในการอบรม 💬🎤
การอบรมครั้งนี้ วิทยากรได้ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่อง ความสำคัญ การจัดทำข้อมูลพื้นฐานการสำรวจเชิงพื้นที่ กระบวนการหรือวิธีการขั้นตอนในการขอยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงความพร้อมของกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและระเบีบบข้อกฎหมายต่างๆ ในการขอยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI
17 มีนาคม 2568
อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รับมอบใบเกัยรติคุณจากนายกสภามหาวิทยาลัย
ในโอกาสที่ได้รางวัล “เหรียญเงิน” ในโครงการประกวดผลงานนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2025”
ชื่อผลงาน “หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล Ver.2”
จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
โดยทีมผู้ได้รับรางวัลประกอบด้วย
1.อาจารย์ ดร.พิศิษฐ์ เฮงจินดาสิริธนัท
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพัฒน์ รูปคม
3.นายเอกพัน อุ่นมั่น
4.นายดนัย สืบเทศ
5.นายพีรพงษ์ แก้วแดง
6.นายไชยบูรณ์ นิธิโชติชัยเลิศ
7.นายธนกฤต ม่วงทอง
ARDA จับมือ ม. ราชภัฏเพชรบุรี ยกระดับมรดกวัฒนธรรมด้านอาหาร สู่ชุมชนยั่งยืนด้วยนวัตกรรมงานวิจัย
“แผนงานวิจัยนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อตอบโจทย์ความเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร UNESCO ของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยเน้นการนำนวัตกรรมงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เกิดการสร้างคุณค่า และมูลค่าเชิงพาณิชย์ และการนำไปประยุกต์ใช้และต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เกิดความยั่งยืนสืบไป” ดร.วิชาญ ผอ. ARDA กล่าวในตอนท้าย
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ขอเชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วม “หลักสูตรการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยระดับสูงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568 พร้อมศึกษาดูงานด้านการบริหารมหาวิทยาลัยในประเทศยุโรป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในด้านการบริหารบุคคล ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงธรรมาภิบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการอบรมแบบ Workshop และเรียนรู้กรณีศึกษาอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้บริหารในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ทั้งนี้มีค่าลงทะเบียนท่านละ 199,000 บาท ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิจากหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมหลักสูตรได้ที่ ลงทะเบียนหลักสูตรการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยระดับสูงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน