ข่าวประชาสัมพันธ์ของสถาบันฯ
ข่าวประชาสัมพันธ์ของสถาบันฯ
“SOCIAL DISTANCING” กับ 8 วิธีป้องกันโรคโควิด-19
เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในวงกว้าง การเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” 8 วิธีปฎิบัติป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่
1.ห้ามไปพื้นที่แออัดต่างๆ เช่น สถานบันเทิง โรงเรียน โรงภาพยนตร์ กิจกรรมกีฬา เป็นต้น เปลี่ยนเป็นการทำงานที่บ้าน สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และเรียนออนไลน์
2.เปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงความสัมพันธ์ ห้ามกอด หรือจูบ
3.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องที่แออัด ห้องประชุม/ชุมนุมขนาดใหญ่ เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อโรค
4.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนเยอะ และใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
5.ระวังการใช้สิ่งของสาธารณะและของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ราวบันได ลูกบิด รีโมทคอนโทรล ปุ่มกดลิฟท์ และล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
6.ควรหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนในสถานที่ที่มีคนเยอะ เช่น รถสาธารณะ ร้านสะดวกซื้อ
7.ควรอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ อย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อ และ
8.ควรอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เมื่อไม่ออกไปรับเชื้อข้างนอกบ้าน โอกาสติดโรคน้อยลง
























สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปี การศึกษา 2564
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปี การศึกษา 2564 ในระดับดีมาก (4.86 คะแนน)
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากร สถาบันวิจัยฯ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ณ ห้องประชุมภูมิทรรศนา สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการในการประเมิน ประกอบด้วย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ เป็นประธานคณะกรรมการ
- รศ.ดร.บัญญัติ ศิริธนาวงษ์ รองประธานกรรมการ
- อาจารย์ ดร.วิวิศณ์ สุขแสงอร่าม กรรมการ
- นายณัฐพล อาบสีนาค กรรมการและเลขานุการ
- นางสาวชลธิพา สุขดี ผู้ช่วยเลขานุการ
สถาบันวิจัยวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีภารกิจขับเคลื่อนการดําเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยใน 3 พันธกิจ คือ ด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ และด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมโดยมีวิสัยทัศน์ “องค์กรแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ ใช้วัฒนธรรม และชุมชนเป็นรากฐานแห่งการเรียนรู้ โดยน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 ของสถาบันวิจัยฯ อยู่ในระดับดีมาก (4.86 คะแนน) แยกตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
- ผลการประเมินตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพสําหรับหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ (ตัวชี้วัดบังคับ) อยู่ในระดับดีมาก ( 4.74 คะแนน)
- ผลการประเมินตัวบ่งชี้ด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม อยู่ในระดับดีมาก (5 คะแนน)
- ผลการประเมินตัวบ่งชี้ด้านพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการอยู่ในระดับดีมาก ( 5 คะแนน)
- และผลการประเมินตัวบ่งชี้ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอยู่ในระดับดีมาก (5 คะแนน)
#ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
วันนี้ชาวสถาบันมานำเสนอวิธีการแยกขยะให้ถูกวิธี ดีต่อเรา ดีต่อโลก!
รู้จักของประเภทถังขยะกัน!
1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว) ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัวได้
2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน) เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากแต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำผ่านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัสดุใหม่
3.ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) ขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ, กระดาษ ประโยชน์จากการแยกขยะ: ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ ผลิตจีวรพระสงฆ์
4. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง) ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุติดเชื้อได้ วัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาหมดอายุ, วัตถุไวไฟ, กระป๋องเสปรย์ ประโยชน์จากการแยกขยะ: แยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตาม เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน
ส่วนข้อดีของการแยกขยะก็มีมากมาย!
ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดปริมาณขยะ การแยกขยะเพิ่มการนำกลับมารีไซเคิล เราจะเหลือขยะที่ต้องกำจัดน้อยลง ขยะบนโลกก็จะลดลงด้วย ประหยัดงบในการกำจัดขยะ นำงบส่วนนี้ไปพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร ของที่สามารถกลับมารีไซเคิลได้จะช่วยเพิ่มรายได้และลดทรัพยากรโลกในการผลิตใหม่อีกครั้งด้วยนะ รักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษในโลก การแยกขยะ ทำให้เรากำจัดขยะได้ถูกวิธีมากขึ้น ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
วันนี้ชาวสถาบันวิจัยจะขอนำเสนอ …..แนวคิดรักษ์โลก
โดยใช้หลัก 3R
มาเรียนรู้กันเถอะ….











เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นำโดย อ.ดร.ทวิพัฒน์ ปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ และรองผู้อำนวยการ บุคลากรสถาบันวิจัยฯ ได้ไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย อ.ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ให้เกียรติต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยบุคลากรของสำนักวิทยาบริการฯ ได้นำเสนอข้มูลแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวตามเกณฑ์การประเมินเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหน่วยงานให้ก้าวไปสู่การเป็นสำนักงานสีเขียวของมหาวิทยาลัยต่อไป
เชิญชวนชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วมแต่งกายด้วยเสื้อสีฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2564
ในนามของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
และขอเชิญชวนชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วมแต่งกายด้วยเสื้อสีฟ้า
เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง