นงลักษณ์
โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนผู้ผลิตโกโก้บ้านช้างแรก และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การใช้ประโยชน์ (แปรรูปสบู่โกโก้บัตเตอร์)
เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 66 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณาจารย์จากสาขาศิลปะการประกอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการฯ จากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่ชุมชนช้างแรก อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดำเนินกิจกรรมภายในโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนผู้ผลิตโกโก้บ้านช้างแรก และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การใช้ประโยชน์ (แปรรูปสบู่โกโก้บัตเตอร์) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายสุทิน ประเสริฐศักดิ์ นายอำเภอบางสะพานน้อย และนายธิรวัฒน สุดจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างแรกให้การต้อนรับ จากนั้นคณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนั้น
วันที่ 27 มิถุนายน 66
– การแปรรูปสบู่โกโก้บัตเตอร์ : เป็นสบู่ที่ใช้โกโก้บัตเตอร์จากการบีบสกัดเมล็ดโกโก้เป็นส่วนผสม วิทยากรโดย คุณภาวิณี สุขบรรเทิง
– ผลิตภัณฑ์ชาเปลือกโกโก้ : เป็นชาที่ผลิตจากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้ไว้สำหรับชงดื่มเพื่อสุขภาพ โดยอาจารย์ ดร.จินตนา สังโสภา
– ผลิตภัณฑ์แป้งบราวนี่สำเร็จรูป : เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากผงโกโก้ที่ชุมชนผลิตได้ และเติมส่วนของวัตถุดิบในการทำบราวนี่ลงไปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย อาจารย์นราธร สัตย์ซื่อ
วันที่ 28 มิถุนายน 66
– โกโก้ 3in1 เพื่อสุขภาพ : ปรับจากสูตรเดิม เป็นสูตรใหม่เพื่อสุขภาพ โดยใช้สารให้ความหวานแทนความหวานจากน้ำตาลทั่วไป โดย อาจารย์นราธร สัตย์ซื่อ
โดยชุมชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้ง 4 รายการ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากวิสาหกิจชุมชนวิถีเกษตรธรรมชาติ นำโดยคุณนันทปรีชา คำทอง หัวหน้ากลุ่ม และสมาชิกจากวิสาหกิจชุมชนโกโก้ตะนาวศรี เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 20 คน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโกโก้ของชุมชนช้างแรกต่อไป
ณ หอประชุมชุมชนช้างแรก อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำการแสดงชุด “มนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม” ออกรายการ 360 องศา นิวโชว์
วันที่ 27 มิถุนายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน ประธานสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา และคณาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำนักแสดงซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาไปทำการแสดงชุดมนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม ในรายการ 360 องศา นิวโชว์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD
อาจารย์วิไลวรรณ ไชยลังการ อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา ผู้รังสรรค์ชุดการแสดง กล่าวว่า “การแสดงชุดมนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม ดำเนินงานภายใต้โครงการ U2T 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ที่มุ่งยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ความน่าสนใจหรือจุดเด่นของการแสดงชุดนี้คือการแสดงที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตของประชาชนในตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ในการทำปลาสลิดที่มีการเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของดิน น้ำและสภาพภูมิอากาศ เมื่อจำนวนปลาสลิดมีจำนวนมากจึงได้มีการนำไปแปรรูปด้วยการทำปลาสลิดแดดเดียวและน้ำพริกปลาสลิด ในฐานะผู้คิดค้นผลงานการแสดงชุดนี้รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนในการเผยแพร่ของดีของตำบลบางเค็มให้เป็นที่รู้จัก ด้วยการใช้ศาสตร์ทางนาฏศิลป์มา บูรณาการภายใต้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้และความกินดี อยู่ดีของคนในพื้นที่”
สำหรับชุดการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 หมู่มวลปลาสลิดในยามเช้า ความสมบูรณ์ของตัวปลาต่างออกมาร่ายรำ
ช่วงที่ 2 กระบวนการจับปลาสลิด ขั้นตอนการทำปลา ขอดเกล็ด ตากปลา เพื่อนำมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และกรรมวิธีการจักสาน จนได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ได้จากไม้ไผ่และหวาย เช่น ตะกร้าหวาย
ช่วงที่ 3 เป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์รวม ของดีตำบลบางเค็ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนผลงานการแสดงสร้างสรรค์ และสนับสนุนทุนวิจัยในการวิจัยผลงานด้านนาฏศิลป์สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง พร้อมผลักดันให้เกิดการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ของทุกปี มีการแลกเปลี่ยน เผยแพร่การแสดงจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการแสดงชมพู่เพชรสายรุ้ง ที่เป็นการเล่าเรื่องกระบวนการตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงการสืบสานวิถีคน ชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่เล่าขานเป็นการสร้างสรรค์งานทางนาฏยประดิษฐ์ ในรูปแบบการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ของหมู่บ้านยางน้ำกลัดใต้ ตำบลยางน้ำกลัดใต้ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี”
อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอาหารเมืองเพชรบุรีว่า “จังหวัดเพชรบุรี เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลกด้านอาหาร (City of Gastronomy) หรือ UNESCO Creative Cities ซึ่งเพชรบุรีเป็นเมืองตำรับด้านอาหารหวาน รวมทั้งอาหารคาวอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดเพชรบุรีขึ้นชื่อว่าเป็นเมือง 3 รส ได้แก่ รสหวานจากน้ำตาลโตนด รสเปรี้ยวจากมะนาวพันธุ์พื้นเมือง และรสเค็มจากเกลือบ้านแหลม ซึ่งการแสดงชุดมนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม จะนำมาซึ่งการขับเคลื่อนทางด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแน่นอน”
เครดิตข่าว #กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ถวายสักการะสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในมงคลสมัยพระชนมายุ 96 พรรษา
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 13.00 น. ผู้บริหารพร้อมบุคลากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ถวายสักการะสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในมงคลสมัยพระชนมายุ 96 พรรษา ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2566
ณ อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 1 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
พระสังฆราชองค์แรกในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราช ทรงได้รับพระราชทานพระมหากรุณาจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตั้ง เลื่อน และสถาปนาสมณศักดิ์เรื่อยมานับแต่เป็นพระปริยัติกวี จนถึง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ใน พ.ศ.2552 จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดสถาปนาให้ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองงานพระธรรมทูต นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯลฯ ดำรง ตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก พระองค์แรกในรัชกาลปัจจุบัน เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีพิธีสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งฯ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ปรากฏพระนาม ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”
เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 ผศ.ดร.พรรณี คอนจอหอ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผู้บริหารสถาบันวิจัยฯ และบุคลากรของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการบริหารงานของสำนักงานร่วมกัน และได้มีการนำชมศูนย์การเรียนรู้เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ณ ห้องประชุมเอกสักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล
ประกาศสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเรื่องนโยบายและการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2566 – 2570
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ออกประกาศสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เรื่องนโยบายและการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2566 -2570 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง รวมถึงเพื่อให้ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีดำเนินการตามมาตรฐาน โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด
ในการนี้ จึงขอประชาสัมพันธ์การประกาศนโยบายดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรในระบบวิจัย ได้รับทราบนโยบายดังกล่าว อย่างกว้างขวางและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาระบบจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีต่อไป
Lab_Policy2566-2570ประกวดโครงร่างวิจัยพลังงานปีที่ 2 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ประชาสัมพันธ์การประกวดโครงร่างวิจัยพลังงานปีที่ 2 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ขอเชิญนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี จำนวน 4 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 2 คน ต่อทีม เข้าร่วมประกวดโครงร่างวิจัยพลังงานปีที่ 2 นักวิจัยพลังงานรุ่นใหม่
ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท
ประเภทการประกวด
1. Hardware Innovation : โครงร่างวิจัยสำหรับการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นรูปธรรม
2. Software Innovation : โครงร่างวิจัยสำหรับพัฒนาโปรแกรม หรือ Application เพื่อติดตั้งและใช้งานสำหรับโทรศัพท์มือถือ Tablet (แท็บเล็ต) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการพัฒนารูปแบบธุรกิจและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน
เปิดรับสมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่วันนี้ – 15 กรกฎาคม 2566 รายละเอียดเพิ่มเติมและการสมัครเข้าร่วมโครงการ https://linktr.ee/nespitching?utm_source=linktree_profile_share<sid=902fa110-feed-43ae-8cb4-32b9aec53e09