เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้การต้อนรับ ผู้บริหารและคณะทำงานมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชนบท ในการเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะ ชุมชนหัวทุ่ง-ทุ่งพร้าวพัฒนา ตำบลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการขยายผลต้นแบบการจัดการขยะสู่มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชนบท ตามนโยบายของนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี่ ที่มีดำริให้ขยายผลความสำเร็จสู่ชุมชน องค์กร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้มีการวางแผนเพื่อการแลกเปลี่ยนกระบวนการและเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
นงลักษณ์
ประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการจัดงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 12
งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดการประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการจัดงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 12
วันที่ 25 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วย นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นางสาวคนึง ไข่ลือนาม วัฒนธรรมธรรมจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดเพชรบุรี รศ.สุนันท์ นีลพงษ์ อาจารย์ปราณี ชุ่มน้อย นายธานินทร์ ชื่นใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการจัดงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม พ.ศ.2566 เพื่อให้การจัดงานดังกล่าวเป็นไปอย่างเรียบร้อย และปรากฏแนวทางการจัดงานใหม่ โดยมติในที่ประชุม ให้มีการจัดงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และให้มีการประชาสัมพันธ์งานไปที่กลุ่มสมาคมท่องเที่ยว ชักชวนแขกต่างประเทศให้มาชมในงาน โดยให้มีประชาสัมพันธ์ในรูปแบบภาษาอังกฤษ และให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนทั้งภาคกลางวันและกลางคืน รวมถึงการถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ททบ.5 เอชดี ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดให้มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การแสดงจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก รวมถึงมีการแสดงจากมหาวิทยาลัยภูมิภาคต่างๆ จุใจตลอด 3 วัน 3 คืน
ประชุมชี้แจงโครงการและตัวชี้วัดโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
🟡🟢ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เป็นประธานในการ🟡🟢ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เป็นประธานในการประชุมชี้แจงโครงการและตัวชี้วัดโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 แก่รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่กำกับดูแลและรับผิดชอบโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานต่างๆ ร่วมกัน เกิดการวางแผนพัฒนาระบบและกลไกการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาการทำงานด้านพัฒนาท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
🗓️เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2566
🕰️เวลา 09.30 - 12.00 น.
📌ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารวิทยาภิรมย์ (ตึก 14) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น✨✨
📸ประมวลภาพการประชุมฯ https://drive.google.com/drive/folders/1RvhG2AxrqkInbiI9f6jqV-YbkOlsZUF4
รับคณะศึกษาดูงานและเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้วิศวกรสังคม และศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ วิทยาเขตโป่งสลอดที่ใช้ความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติ
วันที่ 15 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดย อาจารย์ปองพล รักการงาน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากรของฝ่ายงานฯ ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 40 ท่าน เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้วิศวกรสังคม และศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ วิทยาเขตโป่งสลอดที่ใช้ความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติโดยเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ ดังนี้
ฐานที่ 1 การบริหารจัดการน้ำอย่างคุ้มค่าจากพลังงานแสงอาทิตย์สู่ระบบน้ำอัจฉริยะ
ฐานที่ 2 ปุ๋ยหมักเปลือกโตนดบ้านโป่งสลอด ฐานที่ 3 ต่อยอดพันธุ์ปลาพระราชทาน
ฐานที่ 4 สืบสานการขยายพันธุ์พืช
ฐานที่ 5 แมลงต้องหนี อาหารปลอดภัย
รวมถึง ศึกษาเรียนรู้การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน และศูนย์เรียนรู้พันธุ์ไผ่เพื่อศึกษา วิจัย และยกระดับรายได้ของชุมชนบ้านโป่งสลอด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พร้อมกันนี้ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และสร้างชุมชนบ้านโป่งสลอดและพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นชุมชนที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนา เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบที่ยั่งยืน ถือเป็นประสบการณ์และแนวทางการนำไปพัฒนาและต่อยอดต่อไป
ทั้งนี้สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ต้องขอขอบคุณที่ได้ให้เกียรติมาศึกษาดูงานตลอดจนได้รับแนวทางและข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้
ประมวลภาพกิจกรรมการศึกษาดูงาน : https://drive.google.com/drive/folders/1OT4uNhRfXBiPG2v7G4fGohEiQwboY8-c