เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และการบริหารพัสดุ ตามมาตรา 113 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยการบริหารพัสดุแบ่งออกเป็นกระบวนการต่าง ๆ คือ การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ ซึ่งตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 207 การให้ยืม หรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการ ซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ของทางราชการจะกระทำมิได้ ประกอบกับสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้มีแนวทางการยืมทรัพย์สินของทางราชการ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการ (กรณีการยืมใช้พัสดุ) ที่สามารถตรวจสอบได้ (รายละเอียดดังแนบ)
คู่มือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลเหรียญเงิน “หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล Ver.2”
📣🎉🎊สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลเหรียญเงิน “หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล Ver.2” 🥈 ในโครงการประกวดผลงานนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2025”
ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
โดยทีมผู้ได้รับรางวัลประกอบด้วย
1.อาจารย์ ดร.พิศิษฐ์ เฮงจินดาสิริธนัท
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพัฒน์ รูปคม
3.นายเอกพัน อุ่นมั่น
4.นายดนัย สืบเทศ
5.นายพีรพงษ์ แก้วแดง
6.นายไชยบูรณ์ นิธิโชติชัยเลิศ
7.นายธนกฤต ม่วงทอง
กิจกรรมอบรมเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก (SF2569)
5 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารนิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานเปิดโครงการการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก (SF2569) ที่สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารนิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ดำเนินการภายใต้โครงการยกระดับการบริหารจัดการงานวิจัยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งการแสวงหาแหล่งทุนภายนอกนั้น กลยุทธ์หนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย คือการสร้างเสริมองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย พัฒนาโจทย์วิจัยในลักษณะบูรณาการ และพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้มีความสมบูรณ์ตรงตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่แหล่งทุนกำหนด เพื่อนำมาสู่การได้รับจัดสรรทุนวิจัยที่มีประสิทธิผล และตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit : PMU) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยดังกล่าว และทุนอื่น ๆ ที่จะเปิดรับ พัฒนาข้อเสนอโครงการในแต่ละ PMU เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบประเด็นวิจัยของมหาวิทยาลัย และเจ้าของแหล่งทุนภายนอกที่เปิดรับข้อเสนอต่อไป
ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและสร้างความเข้าใจแบบการจัดทำโครงการด้วยความร่วมมือของเครือข่ายดำเนินงาน
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568
งานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นำโดย อาจารย์ณปภา หอมหวล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และบุคลากรในฝ่าย
เดินทางจัดเก็บข้อมูลและสร้างความเข้าใจแบบการจัดทำโครงการด้วยความร่วมมือของเครือข่ายดำเนินงาน ประกอบด้วย – มหาวิทยาลัยราชภัฏเพขรบุรี – ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเพชรบุรี – ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ – อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนบ้านบางกลอยอำเภอแก่งกระจาน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานปี 2568 ดังนี้ -ต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือเพื่อการอนุรักษ์และการจัดจำหน่าย – สืบสาน ขยายผลองค์ความรู้ภูมิปัญญาลายผ้าชาติพันธุ์ -ยกระดับสมุนไพรอัตลักษณ์ในพื้นที่เพื่อการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้แก่พริกพรานและพริกกะเหรี่ยง ทั้งนี้การพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านโป่งลึก-กลอย เป็นการดำเนินงานตามโครงการยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามภารกิจของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการทำงานแบบมีส่วนร่วม



สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ยอมรับในระดับนานาชาติ สร้างรายได้จากการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2
ลักษณะของโครงการวิจัย
-
เป็นโครงการวิจัยที่มีระยะเวลาดำเนินการวิจัย ไม่เกิน 1 ปีงบประมาณ (ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2568)
-
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีใหม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
งบประมาณ
สำหรับบุคลากรสายวิชาการ โครงการละไม่เกิน 600,000 บาท
ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขอรับทุนตามประกาศนี้ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านต้นสังกัด และส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการ (ไฟล์ .pdf และ .doc) ที่ lerdrit.pat@mail.pbru.ac.th พร้อมนำส่งต้นฉบับข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน 3 ชุด มายังสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ
ประกาศทุนนวัตกรรม ครั้งที่ 2
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกีฬาและด้านท่องเที่ยว
🟢🟡 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกีฬาและด้านท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 3 – 4 กุมภาพันธ์ 2568
🎫🎯 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่บ้านหัวตาลแถว อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านหัวตาลแถว และผู้นำ ชุมชนปากน้ำปราณ เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : ด้านกีฬา โดยพื้นที่บ้านหัวตาลแถว เชื่อมโยงกับพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรีในโปรเจค “Sea to Mountain” เชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว โดยพื้นที่ตาลหัวแถว เป็นพื้นที่ความลาดชันต่ำ นักท่องเที่ยวและนักกีฬาวิบากสามารถปีนเขาจุดนี้ เพื่อขึ้นไปชมวิวที่เขาดินสอได้ ซึ่งสถาบันวิจัยฯ วางแผนจะพัฒนาเป็นกีฬาวิบากและจุดชมวิวและสามารถสร้างรายได้ต่อไป ทั้งนี้ สถาบันวิจัยฯ ได้เชื่อมโยงกับพื้นที่ปากน้ำปราณซึ่งเป็นพื้นที่จะที่เชื่อมโยงเส้นทางวิบากด้วยรถ Endoro ซึ่งเป็นรถมอเตอร์ไซค์วิบากเพื่อการแข่งขันเพื่อการทรงตัว สามารถดำเนินการเป็นแพ็คเกจการท่องเที่ยววิบากได้ โดยกำหนดจัดกิจกรรมในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568
⭐️🌈 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่นประชุม ร่วมกับ นายประสิทธิพร คงหอม นายอำเภอทับสะแก และนายภัทรดนัย สมศรี กำนันตำบลแสงอรุณ ในการพัฒนาพื้นที่ตำบลหินเทิน ตำบลแสงอรุณ ลงพื้นที่บ้านหินเทิน ตำบลแสงอรุณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเก็บข้อมูลการต่อยอดสินค้าผลิตภัณฑ์ Soft Power โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : ด้านการท่องเที่ยว ด้วยโปรเจค “Coconut Paradise” ท่องเที่ยวไปในชุมชนแห่งมะพร้าว ทั้งนี้ยังมีฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ฐานการเรียนรู้น้ำตาลมะพร้าว ฐานการเรียนรู้การทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจะดำเนินการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายและเส้นผม (Hair and Body Wellness and Health) อาทิ มาร์กหน้าจากสารสกัดมะพร้าว ทรีตเมนต์สารสกัดจากมะพร้าว ผลิตภัณฑ์ทาผิวและผลิตภัณฑ์อาบน้ำ เป็นต้น โดยกำหนดเปิดตัวและจัดกิจกรรมในช่วงเดือนเมษายน 2568
อธิการบดีนำทีมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
🗓 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
🟢🟡 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
อาจารย์ ดร.กฤษดา ตั้งชวาล รองอธิการบดีงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและการจัดหารายได้
คณะผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
🎉 เข้าพบนายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
📌 เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดยพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่เริ่มดำเนินโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน ด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ประกอบด้วยโครงการหลัก จำนวน 7 โครงการดังนี้
- โครงการการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านช้างแรกสู่วิสาหกิจชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ
- โครงการการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากชุมชนบ้านหนองกาสู่วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- โครงการการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้างปูสู่ศูนย์เรียนรู้และต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน
- โครงการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตำบลศาลาลัยสู่ต้นแบบการบริหารจัดการมะม่วงแบบครบวงจร (ด้วยการนำเนื้อมะม่วงมาสกัดเป็นสารตั้งต้น (กรดเลคติก) ในการทำเครื่องสำอาง 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำตบสกินแคร์และมาส์กหน้ามะม่วง )
- โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน Soft Power บนพื้นฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยวและด้านศิลปะ ทัศนศิลป์และแฟชั่น
- โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก
- โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการยกระดับชุมชนสู่สากล
🎯🏆 สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจะร่วมกันกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการวางแผนการพัฒนาด้วยการจัดทำโครงการให้ตรงตามความต้องการของชุมชน และยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมทั้งจะจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือทางวิชาการและปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นกับทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่อไป
ประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2568
📌ประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2568
🗓️ วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568
🕰️เวลา 09.00 – 11.00 น.
📌ณ ห้องประชุมภูมิทรรศนา สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
🟢🟡ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานในการประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2568 ได้มอบนโยบายและชี้แจงแผนการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แก่คณะผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ และฝ่ายงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ในโอกาสนี้บุคลากรทั้ง 2 ฝ่ายงาน ได้นำเสนอผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เป็นไปตามแผนดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยวางไว้
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น✨✨



ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนแผนงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์. (Strategic Fund : SF) ประจำปีงบประมาณ 2568
🎯🏆 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนแผนงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์. (Strategic Fund : SF) ประจำปีงบประมาณ 2568
ดังนี้
- เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมยุคพลิกผันต่อรูปแบบระบบนิเวศคุณธรรมในโรงเรียน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเพชรบุรี
หัวหน้าโครงการ
อาจารย์ดร. นวรัตน์ ปทุมตา
ผู้ร่วมวิจัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐกานต์ ภาคพรต
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล
- อาจารย์ ดร. วีรวัฒน์ จันทรัตนะ
- อาจารย์ ดร.อัตภาพ มณีเติม
- อาจารย์ ดร.อพัชชา ช้างขวัญยืน
- อาจารย์ ดร.พฤกษา ดอกกุหลาบ
- อาจารย์ ดร.อรพรรณ เลื่อนแป้น
- อาจารยดวงพร สุขธิติพัฒน์
- เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกมความจริงเสริมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่สะท้อนการมีคุณธรรมของเด็กวัยเรียนจังหวัดเพชรบุรี
หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป บุบผามาศ
ผู้ร่วมวิจัย
- อาจารย์พรพรรณ เพ่งผล
- อาจารย์ ดร.ยุพิน ยืนยง
- อาจารย์ ดร.สรศักดิ์ ทองเพชร
- อาจารย์ ดร.พีชานิกา เพชรสังข์
- อาจารย์ ดร.ธำรงค์ บุญพรหม
- อาจารย์ ดร.คมชนัญ โวหาร
- อาจารย์เปรมพล วิบูลย์เจริญสุข
- อาจารย์อัญมณี อินเม้
- เรื่อง การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง สำหรับการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเพื่อป้องกันและลดการใช้คำพูดเกลียดชังกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี
หัวหน้าโครงการ
อาจารย์ ดร.สรรเสริญ เลาหสถิตย์
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
🟢🟡 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมพิธีเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 23 โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภายใต้ธีมงาน “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา” พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน ประธานสาขานาฏศิลป์ศึกษา อาจารย์ ดร.วิไลวรรณ ไชยลังการ พร้อมด้วยบุคลากรงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยฯ วันที่ 30 มกราคม 2568 ณ ลานโบราณสถานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยปีนี้มีจำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมการแสดงทั้งจากรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยจำนวนมากกว่า 100 หน่วยงาน
🌈☀️และในวันที่ 31 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว ผู้บริหารและผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ร่วมพิธีเปิดเวทีกิจกรรมย่อย ณ ชั้น 2 ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสาขานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร ได้นำชุดการแสดง “ตอกลายศิลป์ถิ่นพริบพรี” ผลงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์และฝึกซ้อมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ โดยการแสดงชุดนี้ สื่อให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของสกุลช่างเมืองเพชรที่ได้มีการสืบทอดกันมาจากช่างตอกกระดาษ วัดพระทรง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีช่างพิทยา ศิลปศร เป็นผู้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 สื่อให้เห็นถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอกกระดาษ
ช่วงที่ 2 สื่อให้เห็นถึงการทำท่าทางเลียนแบบสิบสองนักษัตร ที่มีลวดลายปรากฏอยู่บนกระดาษ
ช่วงที่ 3 สื่อให้เห็นถึงผลงานความสวยงามประณีตบนธงราว ลายสิบสองนักษัตร
🎀🎊การแสดงชุดดังกล่าวเป็นชุดการแสดงที่สวยงาม แสดงถึงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งยังเป็นบทเรียนให้กับคนรุ่นใหม่ และเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานสกุลช่างเมืองเพชร ให้คงอยู่สืบไปผ่านชุดการแสดง จนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ภาพบรรยากาศงานวันที่ 30 มกราคม 2568
ภาพบรรยากาศงานวันที่ 31 มกราคม 2568