เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 นายพงศธร ยิ้มรอด นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทเดี่ยวระนาดเอก ระดับอุดมศึกษา เพลงบรรทมไพร สามชั้น ในการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เนื่องในวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ประพันธ์ทางเดี่ยวและควบคุมการฝึกซ้อม โดย อาจารย์ ดร.ปราชญา สายสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการ Citations ใน Google Scholar
รอบที่ 1 JANUARY 2024 (version 17.0.1)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับการจัดอันดับ
อันดับที่ 1 ของกลุ่มราชภัฏตะวันตก
อันดับที่ 2 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
อันดับที่ 30 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
อันดับที่ 3765 ของมหาวิทยาลัยโลก
ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม 2567
ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เรื่อง การรับข้อเสนอโครงการวิจัย การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ยอมรับในระดับนานาชาติ สร้างรายจากการพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่
- แบบเสนอโครงการวิจัยการรับข้อเสนอโครงการวิจัย การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ยอมรับในระดับนานาชาติ สร้างรายจากการพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567
- บันทึกข้อความขอส่งข้อเสนอโครงการวิจัย











สถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน Palm Street Art @ ถนนต้นตาล ครั้งที่ 3 #เด็กเลี้ยงวัว
เมื่อวันที่ 26 – 28 มกราคม พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วมจัดนิทรรศการและจัดการแสดงในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน Palm Street Art @ ถนนต้นตาล ครั้งที่ 3 #เด็กเลี้ยงวัว ณ ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ในการนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้นำการแสดง 2 ชุดการแสดง ประกอบไปด้วยชุดการแสดงชุด “วัวมอ ลงลาน สานศิลป์ ถิ่นพริบพรี” เป็นการแสดงที่สื่อถึงวัฒนธรรมการละเล่นวัวลานซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และการแสดงในชุดที่สอง ในชื่อชุดการแสดง “หนมโหนด” เป็นการแสดงที่สื่อถึงวัฒนธรรมของวิถีชีวิตชาวสวนตาลที่นำผลผลิตจากต้นตาลมาบริโภคและแปรรูป โดยการแสดงทั้งสองชุดการแสดงเป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับวัฒนธรรมวัวลานและต้นตาล ในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการเป็นการเป็นการนำเอาผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลจากการจัดประกวดผลงานการออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดเพชรบุรีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้การนำเสนอลักษณ์จังหวัดเพชรบุรีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ณ อาคารสถาบันช่างเมืองเพชรและศิลปะร่วมสมัย จำนวน 6 ลาย จากมีผู้ร่วมส่งผลงานทั้งสิ้น 71 ผลงาน เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพิ่มมูลค่าสินค้าภายใต้อัตลักษณ์ความเป็นเพชรบุรี






สถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมกิจกรรม “ลานวัฒนธรรมสร้างสุข รุกขมรดกยางนา ภูมิปัญญาสร้างสรรค์”
เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี และบุคลากรฝ่ายงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้นำชุดการแสดงร่วมแสดงในพิธีเปิดงานในชุดการแสดงจินตลีลาประกอบเพลงแหล่ ของดีตำบลถ้ำรงค์ “รุกขมรดกยางนา”” และนิทรรศการ “รุกขยางนา มรดกล้ำค่า ตำบลถ้ำรงค์” ณ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2567 ภายในนิทรรศการมีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประต้นยางนา ที่นำมาซึ่งความปลื้มปิติของชาวตำบลถ้ำรงค์ที่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเพาะเมล็ดยางนาลงในกระถางต้นไม้บนพระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนานั้นในแปลงโครงการป่าสาธิตในสวนจิตรลดา โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของต้นยางนาเป็นสำคัญ ควรที่จะอนุรักษ์และปลูกเพิ่ม คุณสมบัติของต้นยางนาที่ใช้ในการนำไม้มาสร้างบ้าน สร้างเรือนได้ แต่ก่อน ใช้น้ำยางมาทำขี้ไต้ จุดไฟส่องแสงสว่างนำทาง เป็นเชื้อเพลิงและเป็นยารักษาโรคได้ อาทิ เปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ หรือ น้ำมันยางใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย นำมาคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ เป็นต้น









มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของพื้นที่หนองพลับ-กลัดหลวงเพื่อจัดทำโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
วันที่ 5 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่หนองพลับ-กลัดหลวงเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ สหกรณ์ในโครงการตามพระราชประสงค์หนองพลับ-การเกษตรกลัดหลวง ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับตัวแทนกลุ่มชุมชนในพื้นที่ ในประเด็นการแก้ไขปัญหาชุมชน ใน 6 เรื่อง ได้แก่
- การพัฒนาศักยภาพกรรมการบริหารสหกรณ์และจัดทำแผนพัฒนาสหกรณ์
- การปลูกกล้วยหอมทอง
- การทำปุ๋ยหมักและการปลูกผักยกโต๊ะ
- การปลูกหญ้าเนเปียร์
- การปลูกพืชสมุนไพรและการแปรรูป
- การเลี้ยงแพะ
พร้อมสรุปผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของชุมชนกับทางพื้นที่ เพื่อทางมหาวิทยาลัยจะนำข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเร่งด่วนต่อไป
ท่านสามารถรับชมประมวลภาพกิจกรรมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1-5sjSD9mivWrizWhHoCThEB4mAsiw684?usp=sharing