
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทยประชาสัมพันธ์โครงการ สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย กำหนดจัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รุ่นที่ 1 เพื่อเป็นการสร้าง พัฒนา และยกระดับศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ ให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างมีระบบมากขึ้น ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณให้สามารถพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
จึงขอเรียนเชิญผู้สนใจสมัครเข้าอบรมในโครงการดังกล่าว โดยมีกำหนดการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 24 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2567
ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อผ่านการประเมิน และสามารถเบิกค่าเดินทาง ค่าที่พักจากต้นสังกัดได้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หัวหน้าโครงการ หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาภรณ์ ตีวารี และ นายเทวินทร์พันธุ์ เทพพิทักษ์ เบอร์โทร 02-256-4093 ต่อ 1137
ประชาสัมพันธ์การจัดประชุมวิชาการและการเปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
ประชาสัมพันธ์การจัดประชุมวิชาการและการเปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร TCI
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประชาสัมพันธ์การเปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. TCI กลุ่ม 1
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ประชาสัมพันธ์การเปิดรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านสหวิทยาศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์เพื่อตีพิมพ์ในวารสาร มทร.กรุงเทพ TCI กลุ่ม 2
มหาวิทยาลัยกรุงเทพประชาสัมพันธ์การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และเปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนักบริหาร ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2567















มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22 “ด๊ะดาดศาสตร์ศิลป์แผ่นดินสยาม”
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน ประธานสาขาวิชานาฎศิลป์ฯ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชานาฎศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๒ “ด๊ะดาดศาสตร์ศิลป์แผ่นดินสยาม” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้ โดยนักศึกษาจากสาขาวิชานาฎศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เข้าร่วมแสดงศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22 ในชุดการแสดง “เกลือพริบพรีอัญมณีบ้านร่องใหญ่” ควบคุมการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ฮอลล์ 2 โคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลโคราช










สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวขียว รองอธิการบดี และ อาจารย์ ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy) โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นเจ้าภาพ โดยได้รับเกียรติจาก คุณเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทของ อว. กับการขับเคลื่อน Soft Power” อีกทั้ง ยังมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันจำนวน 15 หน่วยงาน โดยในงานดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรมภายในงาน อาทิ – การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นของดีบ้านฉัน เพื่อแสดงวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น – การสาธิตภูมิปัญญาของท้องถิ่น – การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม และร้านค้า OTOP จาก กรมการพัฒนาชุมชนโดยเน้นแนวคิดด้วยการนำเสนอ Soft Power ของไทย ด้วยแนวคิด 5F -การจัดเวทีแลกเปลี่ยนการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้นำการแสดงชุด นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ชุด “หนมโหนด” เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าวมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในนการจัดงานครั้งถัดไป




















ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในนามประธานสภาศิลปะฯ มรภ.แห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 อ.ดร.ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประธานสภาศิลปะฯ มรภ.แห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก ๓๗ แห่ง ช่วงเช้า นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยความร่วมมือฉบับนี้ เรียกว่า “เครือข่ายสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม” โดยมีวัตถุประสงค์ในการประสานความร่วมมือทางด้านการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ สืบสาน และต่อยอดศิลปวัฒนธรรม มรดกทางสังคมของคนในชาติ เพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ โรงแรม BEE LIVE HOTEL จังหวัดสุรินทร์ โดยภายในพิธีลงนามดังกล่าวมีการจัดพิธีมอบรางวัล “ราชภัฏคุณากร” และ รางวัล “ภูมิราชภัฏ” ให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสมและทำคุณประโยชน์ด้านศิลปวัฒนธรรม ช่วงบ่าย การจัดการเสวนา เรื่อง “ยกระดับ Soft power อาหารพื้นบ้าน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์“ โดย นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และเครือข่ายสภาศิลปะและวัฒนธรรม ทั้ง 4 ภาค และมีการจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสภาศิลปะฯ ในการนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รับมอบธงเครือข่ายสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ในการเป็นเจ้าภาพในปี ๒๕๖๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในครั้งถัดไป ช่วงค่ำ สภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทยข้าร่วมในพิธีเปิดงาน Thailand Culture Exchange Festival 2024 เทศกาลแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 2 ในการจัดงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์กล่าวต้อนรับ และได้รับเกียรติจาก นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ภายในงานดังกล่าวเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดศิลปะวัฒนะรรมด้านการแสดงจากนานาชาติ ทั้ง 10 ประเทศ โดยจัดพื้นที่การแสดงขึ้น ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์









นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้รับรางวัลเหรียญเงิน I – New Gen Award 2024 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
6 กุมภาพันธ์ 2567 นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประกอบด้วย
- นางสาวธัญญารัตน์ สาระเห็ด
- นายดนัย สืบเทศ
- นายธนกฤต ม่วงทอง
- นายภูมิวัฒน์ เจริญแสง
- นางสาวปิยาภรณ์ คำชัย
เข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventor Awards 2024 ระดับอุดมศึกษา กลุ่มเรื่อง สุขภาพและการแพทย์ เรื่อง หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล โดยมี อาจารย์ ดร.พิศิษฐ์ เฮงจินดาสิริธณัท เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโดยได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อลดอัตราเสี่ยงการแพร่กระจายจากการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) โดยหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้โดยผ่านการควบคุมระยะไกลด้วยรีโมทอาร์ซีแบบไร้สาย และติดตั้งระบบการฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC





















































โครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านช้างแรก สู่วิสาหกิจชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา มุขดา อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และบุคลากรจากสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนโกโก้วิภาวดี อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎ์รธานี ระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม 2567 เพื่อศึกษารูปแบบเครื่องกะเทาะเปลือกโกโก้ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องของยกระดับขีดความสามารถ กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโกโก้วิภาวดี รวมถึงแนวความคิดการพัฒนาโกโก้สู่เป้าหมายตลาดโลก ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคุณวินัย กล่อมเมือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้วิภาวดี จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาดูงานการเพาะปลูกต้นโกโก้และกาแฟที่สวนนิลเขียว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และพรพฤกษา การ์เด้น อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จากนั้น วันที่ 28 – 29 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นำคณาจารย์จากสาขาศิลปะการประกอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ฉละเทคโนโลยี ลงพื้นที่ชุมชนช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดำเนินกิจกรรมภายในโครงการดังกล่าว ซึ่งได้รับเกียรติจากนายนิมิตร วงษ์จินดา นายอำเภอบางสะพานน้อย นายธิรวัฒน สุดจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างแรก และนายนันทปรีชา คำทอง หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีเกษตร ให้การต้อนรับ คณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มมูลค่าจากโกโก้บัตเตอร์ ด้วยการทำสบู่เหลวขมิ้นโกโก้บัตเตอร์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้และสร้างการตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่