✨อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์✨
🟢🟡มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดย สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำหนดจัดโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
📅ระหว่างวันที่ 7-9 พฤษภาคม 2568
🏢ณ ห้อง 504 อาคาร 25 นิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ณภัค เชื้อเพชร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรชุมชนบ้านหนองควาย สู่การเป็นชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรชุมชนบ้านหนองควาย สู่การเป็นชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่ชุมชนบ้านหนองควาย ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเกษตรกรชุมชนบ้านหนองควายสู่การเป็นชุมชนต้นแบบของอำเภอท่ายาง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยไส้เดือน)
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำปุ๋ยไส้เดือน” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด สร้างรายได้เสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากนายณัศพงศ์ เพชรพันธ์ช่าง เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ สำหรับใช้ในแปลงเกษตรต่อไป
ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ประจำปี 2568
👉วันพุธที่ 30 เมษายน 2568
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารวิทยาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรายงานความก้าวหน้าและเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7–9 พฤษภาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี





มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้าพบผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น เพื่อหารือความร่วมมือด้านหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร
🗓️ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2568
คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรศักดิ์ อาลัย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยอาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัชชานุช พุ่มทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารัณพราหมณ์แก้ว อาจารย์วันรัตน์ รื่นบุญ และอาจารย์เสาวลักษณ์ วิบูรณ์กาล
ได้เข้าพบ นายประเสริฐ สุภัครพงษ์กุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรภาครัฐและท้องถิ่น ทั้งในระดับระยะสั้น และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงหลักสูตรเฉพาะทางสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถและการเลื่อนตำแหน่งตามระบบคุณภาพของหน่วยงานท้องถิ่น
การหารือดังกล่าวครอบคลุมถึงหัวข้อสำคัญ เช่น
📌 การออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
📌 การจัดสรรงบประมาณในระดับท้องถิ่น
📌 การร่วมมือกับสถาบันภายนอก
📌 การพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับที่มีอยู่แล้ว
โดยมีเป้าหมายในการยกระดับสมรรถนะบุคลากร และส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 🌱
รายงานความสำเร็จโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้หนี้สินเกษตรกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
👉เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน รายงานความสำเร็จโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้หนี้สินเกษตรกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับท่านองคมนตรี พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
โดยมีกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทอง สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด และสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ร่วมนำเสนอความสำเร็จการดำเนินโครงการดังผู้มีรายนามต่อไปนี้
⛱️กลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทอง
- นายอุดม วงศ์ประเสริฐ กรรมการสหกรณ์และประธานกลุ่มกล้วยหอมทอง
- นายประยูร พ่วงแสง กรรมการกลุ่มกล้วยหอมทอง
- นางสาวอัญชลี แสงผ่อง เลขากลุ่มกล้วยหอมทอง
- นางสาววันศิรี บุญพิมพ์ สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทอง
- นางสาวบุษบา เป็นวงศ์ สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทอง
⛱️สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด
- นายมานะ บุญสร้าง ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรท่ายางจำกัดจังหวัดเพชรบุรี
- นายสมยศ คำเพ็ง หัวหน้าฝ่ายการตลาดสหกรณ์การเกษตรท่ายางจำกัดจังหวัดเพชรบุรี
⛱️สหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
- นางสาวธารญดา ณ ระนอง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3
นิทรรศการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้หนี้สินเกษตรกร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการปรับปรุงพื้นที่รกร้างร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 15 ไร่ เพื่อทำการปลูกกล้วยหอมทอง จำนวน 5,000 หน่อ โดยมีสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด เป็นผู้ควบคุมคุณภาพและเข้ามาเก็บเกี่ยวผลผลิต มีการประกันราคาอยู่ที่ผลละ 1.80 บาท และในปีต่อไปจะต่อยอดด้วยการนำหน่อกล้วยที่แตกออกมาจากพื้นที่เดิม มาปลูกเพิ่มในพื้นที่ใหม่อีก 5 ไร่ ภายใต้แนวคิด BCG Model
โอกาสนี้ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร จนทำให้เกษตรกรมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในพื้นที่
นำเสนอผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้าชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านโป่งลึก-บางกลอย สู่ศูนย์เรียนรู้หัตถกรรมต้นแบบ
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมราชภัฏสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นำคณะทำงานกลุ่มทอผ้าบ้านโป่งลึก-บางกลอย นำเสนอผลการดำเนินงานต่อ พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนชาติพันธุ์ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น”
โดยพื้นที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย เป็นชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่มีภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น ทั้งในด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี และการทอผ้ากี่เอว อย่างไรก็ตามภูมิปัญญาดังกล่าวเริ่มมีผู้สืบทอดลดลงตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้าปกาเกอะญอด้วยเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ และการฟื้นฟูลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
การดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเพชรบุรี และศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างเป็นระบบ
ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ชุมชนสามารถรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้จากงานหัตถกรรม และก่อตั้ง “ศูนย์เรียนรู้หัตถกรรมบ้านบางกลอย” ขึ้นเป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ กลุ่มผ้าทอกี่เอว บ้านบางกลอยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด ผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่า ซึ่งจัดโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จในครั้งนี้ และพร้อมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
เสวนาวิชาการในหัวข้อ “การจัดทำผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”
วันที่ 25 เมษายน 2568
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “การจัดทำผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ อุปนายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ให้เกียรติบรรยายพิเศษ
ภายในกิจกรรม ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการสร้างผลงานเพื่อรับใช้สังคม ได้แก่
-
- ผศ.ธฏษธรรมช์ ลาโสภา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)
- ผศ.ดร.ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ผศ.กมลชนก ทองเอียด (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)
โดยกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดงานท้ายกรานต์ ส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568
วันที่ 24 เมษายน 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้านการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นประธานในการพิธีงานท้ายกรานต์ โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนผู้ที่มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัย เข้าร่วม
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยพิธีรดน้ำขอพรจากผู้บริหารและผู้มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัย พิธีถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ การสรงน้ำพระพุทธรูป และกิจกรรมอื่น ๆ ที่สื่อถึงการอนุรักษ์ประเพณีและการส่งเสริมคุณธรรมความดีงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีคุณูปการที่มอบที่ดินให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ทางการศึกษาและส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการและศิลปวัฒนธรรมอันเป็นคุณูปการสำคัญต่อสังคมและท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงออกถึงจิตสำนึกแห่งความกตัญญูและความเคารพในคุณค่าของความเสียสละที่มีส่วนผลักดันให้มหาวิทยาลัยเติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับงานท้ายกรานต์ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2568 นี้ ถือเป็นปีที่ 15 ของการจัดกิจกรรมโดยมีเพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยที่มีมาอย่างยาวนาน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นภายหลังเทศกาลสงกรานต์ 3 -7 วัน ภายในพิธีมีการทำบุญถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ 9 รูป ประกอบพิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้บริหาร ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะร่วมกันสรงน้ำ เปลี่ยนผ้าห่มองค์หลวงพ่อเกตุน้อย
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก งานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ดาวโหลดรูปเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์