ณภัค เชื้อเพชร
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม นโยบายและแผน ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนคุณภาพอากาศผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ โดยมี อาจารย์ ดร.สุกัญชลิกา บุญมาธรรม อาจารย์ ดร.อาจารย์พีรศุษย์ บุญมาธรรม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิจัยผู้คิดค้นโครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนคุณภาพอากาศผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ โดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในอากาศ ด้วยระบบเซ็นเซอร์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนภัยกับปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ โดยติดตั้งตามจุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
การประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567
วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์ อาลัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมนักวิจัย และบุคลากรฝ่ายงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี โดยมี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นเจ้าภาพจัดงาน และได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งการจัดงานประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายนักวิจัยรุ่นใหม่สู่เครือข่ายความร่วมมืออนาคตชาติ และขับเคลื่อนอนาคตไทยด้วย ววน. ปลอดล็อกศักยภาพ เร่งผลิตพัฒนากำลังคน รองรับการลงทุนใหม่เพื่อยกระดับประเทศสู่เส้นทางอาชีพเพื่อนักวิจัยในการสร้างโอกาสกับการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริม ววน.
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยที่ได้รับงบประมาณทุนสนับสนุนงานมูลฐานของหน่วยงาน (Fundamental Fund: FF) เข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงาน จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากสารสกัดผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ (หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธิดา ทองคำ)
- โครงการไพโรไลซิสของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี (หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วราภรณ์ นิสสภา)
- โครงการผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่หลากหลายและโภชนาการต่อการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบางในชุมชน: การวิจัยแบบปกปิดหนึ่งทาง มีสองกลุ่มในการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.วีรยุทธ ศรีทุมสุข)
- โครงการนวัตกรรมและการพัฒนาแก้วกำบังรังสีชนิดใหม่ที่มีเถ้าก้นเตาเป็นส่วนผสม (หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทศักดิ์ ระวังวงศ์)
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนบทความวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนบทความวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย (รองอธิการบดีงานด้านยุทธศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม นโยบายและแผน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม) และบุคลากรฝ่ายงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนบทความวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ณ ห้องประชุม SU 504 อาคารนิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ สมพงษ์ เป็นวิทยากรในการอบรม ซึ่งหลักสูตรการอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อฝึกทักษะและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้มีความสามารถในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ และนานาชาติ
บนพื้นฐานของหลักการและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารแต่ละประเภท ดังนั้น การวางแผนในการเขียนบทความวิจัยจำเป็นต้องมีขั้นตอน การกำหนดกลยุทธ์ และการวางแผนในการเขียนบทความวิชาการ รวมถึงการจัดเตรียมรูปแบบของบทความ (Manuscript) และขั้นตอนการตรวจสอบก่อนและหลังส่งบทความวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก SF69 & FF70
วันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2567
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และบุคลากรฝ่ายงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม นำนักวิจัย เข้าร่วม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก SF69 & FF70 ณ ห้องประชุม SU 504 อาคารนิวัตสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ณรงค์ สมพงษ์ ,อาจารย์สุนันทา สมพงษ์ , นายธงชัย พงษ์วิชัย และนางสาวกนกวรรณ ขับนบ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้นักวิจัยได้เตรียมความพร้อมของโครงการวิจัยจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนส่งแหล่งทุนภายนอก (PMU) แหล่งทุนงานพื้นฐาน Strategic Fund 69 & Fundamental Fund 70 ซึ่งกำลังเปิดรับข้อเสนอ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร เข็มเงิน รองอธิการบดีด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตรการใช้ Generative AI ในการเขียนงานวิจัย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย รองอธิการบดีด้านยุทธศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม นโยบายและแผน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมบุคลากรฝ่ายงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตรการใช้ Generative AI ในการเขียนงานวิจัย ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยได้รับเกียรติจาก คุณวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรในการอบรม
การจัดอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะของนักวิจัยและบุคลากรในมหาวิทยาลัย ในการใช้ Generative AI เป็นเครื่องมือในการเขียนงานวิจัย ตั้งแต่การสืบค้นข้อมูล การเขียนบทความ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ ด้วยความแม่นยำและรวดเร็ว
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ณ ห้องประชุมต้นหว้า อาคารศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะอนุกรรมการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ประธานอนุกรรมการฯ จัดประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานและประสานความร่วมการทำงานเชิงพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แก่คณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น และพิจารณาให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้วิทยาเขตโป่งสลอดสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเพชรบุรี
นอกจากนี้ คณะกรรมการเข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี ประกอบด้วย หอเกียรติภูมิปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (PBRU Hall of Fame) และศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกัน และมีแนวคิดในการประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับประเทศต่อไป
ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลด้านการวิเคราะห์/ประเมินผลตอบแทนทางสังคม Social Return on Investment (SROI)
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์ อาลัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และบุคลากรฝ่ายงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการด้านการวิเคราะห์ประเมินผลตอบแทนทางสังคม Social Return on Investment (SROI) ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ต.ช่องสะแก อ.เมือง จ.เพชรบุรี ตามโครงการดังต่อไปนี้
- ดร.ทัดทอง พราหมณี หัวหน้าโครงการ การจัดการเรียนรู้โรงเรียนเกษตรกร (Farmer Academy) ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา มุขดา หัวหน้าโครงการ เครื่องกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์แบบอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษณ์ ไชยวงค์ หน้าโครงการ นวัตกรรมต้นแบบเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อควบคุมพลังงานทดแทนสำหรับการเกษตรทฤษฎีใหม่
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว เป็นประธานคณะกรรมการการประเมิน ซึ่งมีการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการประเมิน SROI โดยเฉพาะด้านที่สามารถแปลงผลลัพธ์ออกมาเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การเพิ่มคุณภาพชีวิต การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และการเสริมสร้างโอกาสในการทำงาน เพื่อวัดมูลค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่อสังคมและชุมชนในพื้นที่อย่างครอบคลุม
ประชาสัมพันธ์การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดย งานยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กำหนดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning
ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2567
เวลา 08.30 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมสีทราย 1 โรงแรมลองบีชชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
วิทยากรโดย…
1.รองศาสตราจารย์ ดร.กรัณย์พล วิวรรธมงคล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
2.รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา บุญส่ง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา ทองนิล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
4.รองศาสตราจารย์ ดร.สริตา บัวเขียว อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
5.อาจารย์รุ่งอรุณ ปิยะฤทธิ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร. 032-708608
#พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีสร้างชื่อเสียงด้านนาฏศิลป์ คว้ารางวัล “Silver Award”
สาขานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา มัธยมนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาสาขานาฏศิลป์ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม 7th UKM ASEAN ART FESTIVAL ระหว่างวันที่ 6 – 11 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (UKM) เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม สร้างเสริมประสบการณ์การแสดงบนเวทีในระดับนานาชาติ และพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษากับนานาประเทศที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เมียร์มาร์ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไน และเกาหลีใต้
การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ นักศึกษาและบุคลากร ได้ร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเจ้าภาพจัดทุกกิจกรรม อาทิ
- กิจกรรม ICE BREAKING ละลายพฤติกรรม หล่อรวมนักศึกษา 9 ประเทศเป็นหนึ่งเดียวกัน
- กิจกรรม Pocket show โดยการนำชุดการแสดงดึงครกดึงสาก มาแสดงให้ชาวมาเลเซียและนักท่องเที่ยวได้รับชมความสวยงาม ณ เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย
- กิจกรรม Forum Session (Content & Questions) ในหัวข้อ “Bridging Cultures: Art as a Tool for Regional Unity” ร่วมกับ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยผู้แทนจากประเทศไทย ได้แก่ นางสาวพิชชานันท์ กรีดกราย นักวิชาการวัฒนธรรม สังกัดสถาบันวิจัยฯ
นอกจากนี้ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ประเทศไทยได้เข้าร่วมแสดงและร่วมแข่งขันเทศกาลศิลปะ กับ 8 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ และบรูไน ในชื่อชุดการแสดง “รำไทย 4 ภาค” ซึ่งเป็นการแสดงที่ผสมผสานองค์ประกอบแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ บนความหลากหลายที่เป็นหนึ่งเดียวกันของทุกภาค ออกมาเป็นการแสดงที่น่าชื่นชม ตื่นตาตื่นใจ โดดเด่น สวยงาม จนได้รับรางวัล Silver Awards โดยคณะกรรมการจากนานาประเทศ