งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
งานช่างลายรดน้ำ
งาน ช่างลายรดน้ำ เป็นงานประณีตศิลป์ด้านตกแต่ง อย่างหนึ่งซึ่งมีรูปแบบ และการทำสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ จัด เป็นงานช่างศิลป์ ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในช่างรักอันเป็นช่างหมู่ หนึ่งในบรรดาช่างหลวง หรือช่างประจำราชสำนักซึ่งเรียกกันว่า “ช่างสิบหมู่” ลายรดน้ำ หมายถึง การเขียนลวดลาย หรือรูปภาพให้ ปรากฏเป็นลายทองด้วยวิธีปิดทองแล้วเอาน้ำรด จัดเป็นงาน ประณีตศิลป์ที่มีความสำคัญมาก สำหรับตกแต่งสิ่งของ เครื่องใช้ และเครื่องประดับของขาวบ้านธรรมดา เครื่องใช้ในพระพุทธ ศาสนา ตลอดไปจนถึงในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยใช้ ตกแต่งตั้งแต่สิ่งของที่มีขนาดเล็กขึ้นไปจนถึงประดับตกแต่งผนัง ห้องที่มีขนาดใหญ่ อันหมายถึงตกแต่งตั้งแต่เนื้อที่ไม่กี่ตารางนิ้ว ไปจนถึงเนื้อที่หลายร้อยตารางฟุตให้วิจิตรงดงาม สรุปโดยย่อลาย รดน้ำก็คือลายทองที่ล้างด้วยน้ำ
การเขียนลวดลายหรือรูปภาพ ประเภทลายรดน้ำนี้ คงจะมีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในสมัย นั้นได้มีการติดต่อค้าขายกับจีน และโดยเหตุที่ชาวจีนเป็นชาติแรกที่รู้จักการใช้รู้ก่อนชาติอื่น จึงทำให้เชื่อได้ว่าไทย เราคงได้รับการถ่ายทอดถึงวิธีการต่างๆ ในการใช้รักรวมไปถึงกรรมวิธีในการทำลายรดน้ำ มาแต่ครั้งสุโขทัยนั้นเอง งาน ประเภทลายรดน้ำนี้ คงแพร่หลายและเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา และต่อมาจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ ดังปรากฏศิลปะโบราณวัตถุที่ตกทอดมาได้แก่ ตู้พระธรรม เครื่องใช้สอย เครื่องครุภัณฑ์ ได้แก่ หีบต่างๆ ไม้ประกับหน้าคัมภีร์ พานแว่นฟ้า โตก ตะลุ่ม ฝา บานตู้ ฉากลับแล ฝาผนัง บานประตูหน้าต่าง เป็นต้น จะเห็นได้ว่างานช่างลายรดน้ำของไทยนั้นมีคุณค่าทางด้านศิลปะอันมีลักษณะโดย เฉพาะ และเป็นแบบอย่างของ ศิลปะไทยมาแต่โบราณ แม้ว่างานส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปในด้านที่เกี่ยวกับศาสนา และพระมหากษัตริย์ ก็ยังมีอีก ไม่น้อยที่เกิดจากชาวบ้านธรรมดา เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน และเป็นที่เชิดหน้าชูตาแห่งตน
ลักษณะพิเศษของลายรดน้ำ
ลักษณะ พิเศษของลายรดน้ำ คือ มีกรรมวิธีในการ เขียนผิดแผกแตกต่างไปจากงานจิตรกรรมทั่วไป ที่ใช้สีหลายสี หรือแม้แต่งานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์เองก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเขียนลายรดน้ำ ใช้น้ำยาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วย ยางที่ได้จากต้นรัก เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงเช็ดรัก ปิดทองแล้วเอา น้ำรดน้ำยาหรดาลที่เขียน เมื่อถูกน้ำก็จะหลุดออก ส่วนที่เป็นลวด ลายทองก็ติดอยู่ ทำให้ลวดลายหรือรูปภาพที่ปรากฏ หลังการรด น้ำเป็นสีทองเพียงสีเดียว บนพื้นสีดำหรือสีแดง
นอก จากกรรมวิธี การเขียนที่แตกต่างกันแล้ว กรรมวิธี ในการทำพื้นหรือ เตรียมพื้นก็ยังแตกต่างกันอีก กล่าวคือในการ เขียนลายรดน้ำ ไม่ว่าจะเขียนบนพื้นหรือวัสดุชนิดใดก็ตาม พื้น หรือวัสดุนั้นจะต้องทาด้วยยางรัก ๒ ถึง ๓ ครั้งเสียก่อน จึงจะลง มือเขียนด้วยน้ำยาหรดาล
ส่วน ที่ว่าจะงดงาม หรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดนั้นอยู่ที่แบบลวดลายที่ถูกต้องสมบูรณ์ มีความ ประสานกลมกลืนกัน อันเป็นลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของศิลปะไทย องค์ประกอบของภาพโดยทั่วไป ความหรูหรา ตลอดจนความสวยงามของลวดลายจะอยู่ที่ภาพแสดงความเป็นอยู่ของสัตว์ ปะปนอยู่ทั่วไปในระหว่างพืชพันธุ์ไม้ ภาพสัตว์เล็กๆ ซึ่งมักเขียนให้มีลักษณะเป็นจริงตามธรรมชาติมากกว่าภาพสัตว์ใหญ่ สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ชีวิตของ สัตว์แต่ละตัว จะต้องให้ความรู้สึกเป็นจริงตามสภาพของสัตว์เมืองร้อน อันมีชีวิตเกี่ยวข้องอยู่กับพันธุ์พฤกษชาติ ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป ช่างผู้เขียน หรือศิลปินจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างดี จึงจะสามารถถ่ายทอดลักษณะ พิเศษโดยเฉพาะของสัตว์นั้นๆ ออกมาได้โดยให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ นอก จากจะมีความประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดีแล้ว ยังจะต้องมีความถ่วงกันอย่างพอเหมาะพอดี ของน้ำหนักอันเกิดจากความอ่อน และแก่ภายในภาพนั้นๆ ด้วยน้ำหนักอ่อนแก่ดังกล่าวเกิดจากสีดำของรัก และ ความสว่างของทองคำเปลว ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีมากจนข่มอีกฝ่ายหนึ่ง ก็จะเกิดความขัดแย้งไม่ประสานกันขึ้น ทำให้ความสวยงามของภาพลดน้อยลง
ลักษณะ พิเศษที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือเป็นหัวใจของการสร้างงานประเภทลายรดน้ำที่ขาดเสีย มิได้ก็คือ ตัวช่างหรือศิลปินจะต้องทำงานด้วยใจที่รัก มีความสามารถทำงานด้วยความประณีต บรรจงละเอียดรอบ คอบ ประกอบกับมีทักษะในด้านฝีมือเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องมีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับลวดลายตลอดจนแม่บท ต่างๆ ของลายไทยเป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้ คือ องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ช่างหรือศิลปิน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างได้ผล และมีประสิทธิภาพ
งานลงรักปิดทองประดับกระจก
งานลงรักปิดทอง เริ่มสมัยทวาราวดีพบว่ามีการเอาทองมาทำเครื่องทรง เครื่องประดับซึ่งพบหลักฐานที่ถ้ำเขางู จังหวัดเพชรบุรีเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี จะเห็นรอยปิดทองที่พระองค์และที่ฐานชุกชี ส่วนสมัยสุโขทัยนั้นมีหลักฐานมีการปิดทองบนลวดลายสลักไม้ ซึ่งมีอยู่ที่ เจดีย์ พระพุทธรูป ซุ้มพระปรางค์ งานปิดทองและงานประดับกระจก สังกัดอยู่ในส่วนของงานช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร งานปิดทองเป็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จัดเป็นช่างศิลป์ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในหมู่ช่างรัก ประกอบด้วย ช่างลงรัก ช่างปิดทอง ช่างประดับกระจก และช่างมุก โดยได้รับอิทธิพลมาจากและแบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งนิยมประดับกระจกสีชิ้นเล็กๆ ลงบนเสื้อผ้าอาภรณ์ หลักฐานที่เด่นชัด คือสมัยอยุธยานิยมประดับกระจกเป็นของสวยงามประกอบงานที่ประณีตศิลป์ต่างๆและ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
งานลงลักปิดทองประดับกระจก งานลงลักประดับกระจก เป็นงานที่ต้องทำตามหลังหรือเป็นงานประกอบขั้นสุดท้ายต่อจากงาน ปั้น งานแกะ สลัก หรือตกแต่งส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมของไทย เนื่องจากกระจกเป็นวัสดุทนแดดทนฝน เป็นส่วนสำคัญในการตกแต่งประดับประดาเพื่อเพิ่มความสวยงามให้ชิ้นงานดูสดสวย ด้วยสีสันของลวดลายของกระจกที่ช่างได้ประจงตกแต่งขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถออกแบบลวดลายให้ประสานสัมพันธ์ซึ่งเกิด จากความงามของสีผิวกระจกเอง และประกายแสงที่เปล่งออกมาคล้ายอัญมณี เมื่อได้รับแสงสว่างส่องกระทบ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา คูหา หางหงส์ หน้าบัน ฐานพระ ธรรมาสน์ เพื่อความสวยงามประการหนึ่งและอีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการรักษาเนื้อไม้ โดยคุณสมบัติของยางรักที่ช่างจะต้องลงรักถึงสามครั้งก่อนที่จะปิดทอง และประดับกระจก ในอดีตการปิดทองร่วมกับการประดับประจก เรียกว่า ปิดทองล่องกระจก ซึ่งเป็นการพัฒนางานศิลปกรรม ซึ่งเดิมมีคำว่า ล่องชาด คือ ลงชาด หมายถึง การทาชาดลงระหว่างสิ่งที่ทาทองแล้ว และคำว่า ปิดทองล่องชาด คือ ศิลปกรรมที่นำทองมาปิดที่ลาย ซึ่งพื้นทาด้วยชาด ดังนั้น ปิดทองล่องกระจก คือ ปิดกระจกที่ปูนหรือไม้ส่วนล่องปิดทองแทนการทาชาด
งานประดับกระจกในจังหวัดเพชรบุรีสามารถเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะฐานพระประธานในอุโบสถบางวัด เช่น พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุวรวิหาร ฐานพระประธานในอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร หรือตามหน้าบันอุโบสถ ช่อฟ้า ใบระกา ธรรมาสน์ คันทวย และฐานชุกชีพระพุทธรูป เป็นต้น ข้อสังเกต การประดับกระจกในที่สูง เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มักไม่ต้องคำนึงถึงความประณีตมากนัก เพียงแต่ประดับให้เรียบร้อยเต็มพื้นที่ เพราะเมื่อติดตั้งในที่สูงจะมองเป็นเนื้อเดียวกันไม่เห็นรอยต่อเชื่อม หรือรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นงานที่อยู่ในระดับสายตา ช่างจะต้องใช้ความประณีตในการประดับกระจกเป็นอย่างมาก
งานแทงหยวก
การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท
อุปกรณ์ ประกอบด้วย มีดสำหรับแทงหยวก โดยการตีดิบ ไม่ต้องเอาไปเผาไฟ ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ วัสดุ ที่ใช้ คือ ต้นกล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งาน จึงนิยมใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้าสาว คือต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่าย กระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจน
ขั้น ตอนการแทงหยวกและประกอบเข้าเป็นลายชุด นั้น มี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือขั้นเตรียมหยวกกล้วย ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก และขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีคุณค่าสูงด้านศิลปะ จิตใจ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงควรได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
ใน ปัจจุบัน คำว่า “ร้านม้า” จะไม่ค่อยได้ยินบ่อยนักหรือบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินเลยก็ว่าได้ หรือ อาจจะได้ยินแล้วก็ตีความตามรูปคำไปเลยว่าเป็นที่ม้าอยู่อาศัยหรือ ที่เลี้ยงม้า ขายม้า จึงขอนำเสนอเรื่องร้านม้า เเละการสลักหยวกกล้วย (เเทงหยวก)
การสลักหยวกหรือ การแทงหยวก เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งที่อยู่ในช่าง สิบหมู่ ประเภทช่างสลักของอ่อน ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี ขึ้นไป มีประเพณีที่เกี่ยวกับการแทงหยวกกล้วยอยู่ 2 อย่าง คือ การโกนจุกเเละการเผาศพ (โดยเฉพาะศพผู้ที่มีฐานะปานกลาง) งานโกนจุกหรือประเพณีการโกนจุก จะมีการจำลองเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อ เ เล้วตกเเต่งภูเขาด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ส่วนภูเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ตรงกลางร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้เเล้วหุ้มด้วยหยวกกล้วยเเกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ประเพณีการเผาศพก็เช่นกันจะทำ ร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้แล้วประดับด้วยหยวกกล้วยแกะสลักอย่างงดงาม
การสลักหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัดจนเกิดความชำนาญพอ สมควร เพราะการสลักหยวกกล้วยนั้นช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อนจับมีดได้ก็ ลงมือสลักกันเลยทีเดียว จึงเรียกตามการทำงานนี้ว่า “การแทงหยวก” ประกอบกับมีดที่ใช้มีปลายเเหลม เมื่อพิจารณาดูเเล้วก็เหมาะสมที่จะเรียกว่า “แทงหยวก”
การแทงหยวกกล้วย
หยวก คือ ลำต้นกล้วยที่ลอกออกมาเป็นกาบหรือแกนอ่อนของลำต้นกล้วย มีสีขาว งานเเทงหยวกมักใช้หยวกหรือกาบกล้วยตานี เพราะมีสีขาวดีและไม่สู้ที่ จะเปลี่ยนสีเร็วนัก
งานแทง หยวก คือ การนำเอากาบกล้วยมาทำให้เป็นลวดลายต่างๆโดยวิธีแทงด้วยมีดเเทงหยวกใช้สำหรับ การประดับตกเเต่งที่เป็นงานชั่วคราว ตัวอย่างเช่น การประดับเบญจารดน้ำ ประดับร้านม้าเผาศพ ประดับจิตรการธารการเเกะสลัก หยวกกล้วยนั้นจะทำใน พิธีโกนจุกงานศพ
ในวรรณคดียังปรากฏถึงความสำคัญของการแกะสลักหยวกกล้วย ที่ปรากฎในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน เมื่อพระไวยแล้วกล่าวถึงการทำพี้ว่า ให้ขุดศพนางวันทองขึ้นมา แล้วกล่าวถึงการทำพิธีว่าสถานที่วางหีบศพนั้นตกแต่งอย่างสวยงามเเละวิจิตร พิสดารเป็นรูปภูเขา มีน้ำตกมีสัตว์ต่างๆ มีกุฏิพระฤษี มีเทวดา เช่น รามสูร เมขลา ที่ตั้งศพที่เป็นภูเขานี้เห็นจะเป็นประเพณีไทยที่เก่าเเก่ ที่ทำเช่นนั้นก็คงหมายถึงว่าเขา พระสุเมรุคงเป็นที่เทวดาอยู่ตรงกับสวรรค์ ผู้ตายนั้นถือว่าจะต้องไปสวรรค์ เช่น พระเจ้าแผ่นดินตาย เรียกว่า “สวรรคต” จึงนิยมทำศพให้เป็นภูเขา พระสุเมรุหรือเมรุคือทำที่ตั้งเป็นภูเขาทั้งสิ้น ต่อมาคงจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น งานหลวงเล็กทำเป็นภูเขา เปลี่ยนทำเป็นเครื่องไม้เพราะอาจทำให้สวยงามให้เป็นชั้นลดหลั่นลงมาเป็น เหลี่ยมจะหักมุมย่อให้วิจิตรพิสดารอย่างใดก็ได้ เเต่เเม้จะเอาภูเขาพระสุเมรุ จริง ๆ ออกไปก็ยังคงเรียกเมรุตามที่เคยเรียกมา เมรุ จึงกลายเป็นที่ตั้งศพไป
ขั้นตอนการแทงหยวกกล้วย
วิธีการแทงหยวก/การฉลุลาย หยวกเป็นวัสดุที่อ่อน ชำรุดเสียหายง่าย การแทงหยวกจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญ มีดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการแทงหยวก เป็น เครื่องมือที่มีความคม ดังนั้นหากผู้แทงไม่มีความชำนาญจะทำให้ลวดลายขาดออกจากกันสิ่งที่ควรคำนึง ถึงในการแทงหยวก คือ วิธีการจับมีดจะต้องให้ตั้งฉากกับหน้าตัดของหยวก จะทำให้รอยตัดตั้งฉากสวยงาม
๑. การแทงลายฟันหนึ่ง ลายฟันหนึ่งเป็นลายฉลุขั้นต้นที่จะนำไปสู่การสลักขั้นต่อไปที่ยากกว่า ผู้แทงลายจะต้องกำด้ามมีดไว้ในอุ้งมือ ปักคมมีดให้ตั้งฉากกับหยวกเริ่มจากกการแทงที่ยอดลายแล้วบิดมีดแทงกลับขึ้นลง สลับกัน ไปตลอดชิ้นหยวก
๒. การแทงลายฟันสามและฟันห้า มีวิธีการฉลุเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง แตกต่างกันที่ลายฟันสามกับลายฟันห้าเป็นลายขนาดใหญ่ เวลาฉลุจึงต้องคอยระมัดระวังเพื่อให้ลายทั้งสองซีกเท่ากัน รอยบากหรือรอยหยักเท่ากันเมื่อแยกลาย
๓. การแทงลายหน้ากระดานและลายเสา จัดว่าเป็นลายที่ยากที่สุด และเป็นลายที่ช่างมักจะแสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ และมักไม่มีการเขียนลายลงบนหยวก ช่างแทงหยวกจะแทงลายลงบนหยวกโดยไม่ต้องร่างแบบ จะต้องมีความชำนาญ และมีความจำอย่างแม่นยำในการแทงลาย อนึ่ง ใน การแทงลายหน้ากระดานและลายเสาไม่ต้องคำนึงถึงความเท่ากันของหยวกทั้งสอง ชั้น แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการแทงเป็นพิเศษ มิฉะนั้นลายอาจขาดได้ง่าย
๔. การแรลาย คือการสอดไส้หรือตัดเส้นตัวลายเพื่อให้ตัวลายมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เหตุที่ต้องมีการแรลาย เนื่องจากในการแทงหยวกนั้นทำได้แต่โครงร่างหยาบ ๆ ของตัวลายเท่านั้น ไม่สามารถแทงรายละเอียดของตัวลายได้ เพราะจะทำให้ตัวลายขาดจากกัน ดังนั้นการแสดงรายละเอียดของตัวลายจึงต้องกระทำโดยการแรลาย วิธีการแรลาย ใช้ปลายมีดกรีดลงบนผิวของหยวกเพียงเบา ๆ พอให้เป็นรอย ในขณะที่กรีดจะใช้นิ้วชี้ประกองใบมีดให้เลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการ แล้วใช้สีทาให้ซึมเข้ารอยที่แรลายไว้ จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด จะเห็นลายสีอย่างชัดเจน แบบของลายแทงหยวก
ลายแทง หยวกนิยมใช้ลายไทยโบราณเป็นลายมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันก็ยังลายไทยแบบดั้งเดิมอยู่ อาจจะมีการประยุกต์ลายขึ้นใหม่บ้าง แต่ก็ยังใช้ลายไทยเป็นพื้นฐาน หรือเป็นหลักในการแทงหยวกเสมอ ดังนี้
๑.ลายฟันหนึ่ง หมายถึงลายที่มีหนึ่งยอดเป็นลวดลายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัด แทงหยวกจะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ ขนาดของฟันจะต้องเท่ากันทุกซี่ แทงเป็นเส้นตรงไม่คดโค้ง และต้องฉลุให้เท่ากันทั้งสองด้าน ลายฟันหนึ่งเป็นลวดลายที่ช่างแทงหยวกใช้กันทุกท้องถิ่นมีทั้งฟันขนาดเล็ก และฟันขนาดใหญ่ ลายฟันหนึ่งขนาดเล็กเรียกว่า ลายฟันปลา ลายฟันหนึ่ง เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้าง
๒. ลายฟันสาม หมายถึงลายที่มีสามยอดเป็นลวดลายอีกแบบหนึ่งที่ช่างแทงหยวกนิยมใช้กันทุกท้องถิ่น ขนาดของลายฟันสามโดยทั่วไป มีขนาดความกว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร สูงประมาณ เซนติเมตร ลายฟันสาม เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง
๓. ลายฟันห้า หมายถึงลายที่มีห้ายอด มีขนาดใหญ่กว่าฟันสามเล็กน้อย มีขนาดความกว้างประมาณ ๙ เซนติเมตร สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร การแทงลายฟันห้ายากกว่าลายฟันสาม เนื่องจากต้องแทงถึงห้าหยักหรือห้ายอด หากไม่มีความชำนาญด้านซ้ายและด้านขวาจะมีขนาดไม่เท่ากัน และโดยเหตุที่ขนาดฟันห้าเป็นลายขนาดใหญ่ การแรลายจึงต้องสอดไส้เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงามเด่นชัดยิ่งขึ้น ลายฟันห้า เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่งและลายฟันสาม
๔.ลายน่องสิงห์หรือแข็งสิงห์ เป็นลายที่ประกอบส่วนที่เป็นเสาและนิยมใช้กันในทุกท้องถิ่นไม่แตกต่างกันลายน่องสิงห์เป็นลายที่แทงยาก กล่าว คือในการฉลุลายน่องสิงห์เป็นการฉลุเพียงครั้งเดียวแต่เมื่อแยกออกจากกันจะ ได้ลายทั้งสองด้านและทั้งสองด้านจะต้องเท่ากันเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง ฟันสาม และฟันห้า แต่ลายน่องสิงห์ เป็นลายตั้งประกอบเสาด้านซ้ายและด้านขวา
๕. ลายหน้ากระดาน ใช้เป็นส่วนประกอบของแผงส่วนบน ส่วนกลางและส่วนฐาน ชื่อของลายหน้ากระดายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ ลายรักร้อย ลายก้ามปู ลายเครือเถา ลายดอก เป็นต้น
๖. ลายเสา เป็นลายที่มีความสำคัญเนื่องจากการแทงกระทำได้ยากเช่นเดียวกับลายหน้ากระดานส่วนฐาน ออกแบบลวดลายแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ช่างแทงหยวกมักจะออกแบบลวดลายมีความวิจิตรพิสดาร เพราะลายเสา เป็นลายที่จะแสดงฝีมือของช่างแต่ละคนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกวดประชันฝีมือกันอีกนัยหนึ่ง ลายที่มักใช้ในการแทงลายเสา ได้แก่ ลายเครือเถา เช่น มะลิเลื้อย ลายกนก ลายรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่นปลา นก ผีเสื้อ มังกร สัจว์หิมพานต์ ลายดอกไม้ ลายตลก ลายอักษร ลายสัตว์ ๑๒ ราศี
๗. ลายกระจังหรือลายบัวคว่ำ เป็นลายที่ใช้ประกอบกับลายฟันสาม และลายฟันหนึ่ง นิยมใช้เป็นส่วนยอดและส่วนกลางเท่านั้น ไม่นิยมใช้เป็นส่วนฐาน มีหลายแบบ ได้แก่ กระจังรวน
งานแกะสลักไม้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก ช่างแกะสลักไม้ สามารถสืบทอด ศิลป วัฒนธรรม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละชุมชนลงบนแผ่นไม้ อาทิ เช่น ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง งานแกะสลักไม้ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดจน การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ช่างไทยสิบหมู่ เป็นวัฒนธรรมทางด้าน ศิลปะแขนงหนึ่งในกระบวนช่างไทยได้จำแนกแยกแยะงานช่างได้มากมาย
ประเภทการแกะสลักไม้
1.การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
2.การแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น
3.การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนต่ำ
4.การแกะสลักภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ มองเห็นได้รอบด้าน
ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้
1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง
2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้
3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ
4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ
การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด
ข้อสังเกตในการปาดแรตัวลาย เวลาปาด หรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตาม ทางของเนื้อไม้ คือไม่ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย การปาดแต่งแรลาย คือการตั้งสิ่วเพล่เอียงข้างหนึ่ง ฉากข้างหนึ่ง แล้ว ปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการ
การปาดลายสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
– ปาดแบบช้อนลาย
– ปาดแบบพนมเส้น คือพนมเส้นตรงกลาง
– ปาดแบบลบหลังลาย (ลบเม็ดแตง)
เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก
– ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
– ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
– สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
– มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
– เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
– บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
-กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
– กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
– สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
– แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
– เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
– วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้
เพชรบุรี เป็นเมืองแห่งช่างศิลป์ที่สืบทอดกันมาช้านาน มีรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็น “สกุลช่างเมืองเพชร” ที่สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย รวมทั้งมีส่วนร่วมกับงานพระราชพิธีสำคัญๆ ของประเทศมา ตลอดงานสกุลช่างเมืองเพชรที่มีมาแต่โบราณและยังคงอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
งานปูนปั้น ตามรูปแบบของช่างเพชรบุรี นิยมทำร่วมกับการลงรักปิดทองและประดับกระจก ดูแล้วมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่หดตัวมีลายเด่นช่วยเสริมให้งานประกอบปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา ทำให้เกิดช่างปูนปั้นขึ้นตามวัดต่างๆ
งานลายรดน้ำ รวมอยู่ในหมู่ช่างรักอันเป็นช่างหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ ตกแต่งเครื่องใช้ เครื่องประดับ โดยการเขียนลวดลายและรูปภาพด้วยวิธีการปิดทองรดน้ำงานที่นิยมใช้ลายรดน้ำ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม บานประตูหน้าต่าง
งานลงรักปิดทองประดับกระจก พบเห็นได้ทั่วไปทั้งที่ถ้ำเขางู เพชรบุรี และฐานพระประธานในอุโบสถบางวัด เช่น พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุวรวิหาร ฐานพระประธานในอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร รวมทั้งตามหน้าบันอุโบสถ ช่อฟ้า ใบระกา ธรรมาสน์ คันทวย และฐานชุกชีพระพุทธรูปวัดต่างๆ
งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่ต่อเนื่องมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตน โกสินทร์ตอนต้น ปรากฏอยู่ตามอุโบสถเกือบทุกวัด เช่น วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร ฝีมือขรัวอินโข่ง เป็นต้น
งานช่างทอง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มช่างทองรูปพรรณ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน ตุ้มหู
งานแทงหยวก เป็น ศิลปะการแทงหยวกชั้นแนวหน้าของประเทศ เพราะคนเพชรบุรีนิยมสร้างเมรุลอยสำหรับใช้เผาศพ ซึ่งมีธรรมเนียมแตกต่างไปจากที่อื่น โดยเฉพาะการตั้งเมรุที่คล้ายพิธีหลวง 7.งานตอกกระดาษ เป็นลวดลายมีทั้งลายไทย รูปสัตว์ในวรรณคดี สิบสองนักษัตร หรือลายประดิษฐ์อย่างอื่นตามต้องการ ใช้สำหรับประดับหรือตกแต่งสถานที่หรือเครื่องมือเครื่องใช้ งานตอกกระดาษสามารถพบเห็นได้เฉพาะงานศพหรืองานบุญเท่านั้น
งานจำหลักหนังใหญ่ เป็นการฉลุลายบนหนังวัวหรือหนังควายที่ขูดขนหรือฟอกหนังตากแห้งดีแล้วให้ เป็นรูปตัวละครในวรรณคดี หนังใหญ่เมืองเพชรมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ปัจจุบันตัวหนังใหญ่เหลือเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดพลับพลา ชัยเพียงไม่กี่ตัว
งานแกะสลักไม้ มักสลักลวดลายประดับอาคาร เช่น ลวดลายหน้าบัน คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตู ธรรมาสน์ งานแกะสลักไม้ที่ขึ้นชื่อที่สุดคืองานแกะสลักไม้ประตูศาลาการเปรียญวัดใหญ่ สุวรรณารามวรวิหาร ฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา
งานปั้นหัวโขน หัวละคร ส่วนใหญ่จะเป็นหัวละครที่เป็นตัวเอกในวรรณคดีต่างๆ งานปั้นหัวสัตว์ นำ เอาส่วนที่เป็นเขาของวัว ควาย เก้ง หรือกวางที่เสียชีวิตแล้วมาติดเข้ากับหัวที่ปั้นขึ้น ประดับฝาผนังวัด บ้านเรือน หรือทำขึ้นเพื่อระลึกถึง หรือแสดงความผูกพันที่มีต่อสัตว์เลี้ยง พบเห็นได้ทั่วไปเกือบทุกวัดในเพชรบุรี ปัจจุบันมีการประยุกต์งานปั้นหัวสัตว์เป็นปั้นสัตว์ทั้งตัวเสมือนจริงแต่ไม่กี่วันที่ผ่านมามีการปลุกระดมคนไปทุบทำลายงานฝีมือปูนปั้นที่ฐานชุกชีถึงในวัด
ประวัติความเป็นมา การสร้างหัวโขนของไทยมีมาแต่โบราณ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพบหลักฐานศีรษะพระครูในคลังศิลปสมเด็จเจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัตติวงศ์ และศีรษะทศกัณฐ์ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 และ 2 แต่การสร้างหัวโขนมาเจริญถึงขีดสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งถือเป็นยุคทองของวงวรรณกรรมและนาฏศิลป์ไทย หัวโขนนับเป็นงานศิลปะขั้นสูงที่รวมเอาผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในเชิงช่างหลายสาขาเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ ช่างหุ่น ช่างปั้น ช่างแกะสลัก ช่างกลึง ช่างรัก และช่างเขียน แต่ในทางปฏิบัติกว่าจะได้มาซึ่งหัวโขนที่ถูกต้องและสวยงามนั้นต้องอาศัย เทคนิคและองค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมาย ปัจจุบันหัวโขนมิได้เป็นเพียงส่วนประกอบสำคัญในการแสดงโขนเท่านั้น หากแต่หัวโขนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยไปแล้ว ดังจะเห็นได้จากหัวโขนได้ถูกย่อส่วนลงเพื่อจัดแสดง ประดับประดาในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตามโรงแรม ห้องนิทรรศการ ห้องแสดงสินค้าหัตถกรรมไทย เป็นต้น เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศให้มีเสน่ห์อย่างล้ำลึก และมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น นอกจากนี้หัวโขนยังได้กลายเป็นของสะสมสำหรับผู้มีรสนิยมทางศิลปะอันละเมียด ละไมอีกด้วย
กระบวนการขั้นตอนการผลิต การทำหัวโขนนับได้ว่าเป็นศิลปะที่ต้องใช้ฝีมือการทำจากศิลปะหลายแขนงมารวม เป็นจุดเดียวกัน สิ่งแรกที่ควรระลึกถึงนั่นคือความตั้งใจจริงในการทำงานเมื่อตั้งใจแล้วจะ ต้องศึกษาหาประสบการณ์จากด้านต่าง ๆ อันจะเป็นส่วนประกอบในการสร้างผลงานให้ได้ส่วนสัดและแบบแผนที่ถูกต้อง สมบูรณ์ การทำหัวโขนมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) การปั้นหุ่น หุ่นในที่นี้ หมายถึง รูปแบบ หรือลักษณะของหัวโขน ได้แก่ หุ่นพระ-นาง หุ่นยักษ์โล้น หุ่นยักษ์ยอด หุ่นลิงโล้น หุ่นลิงยอด และหุ่นพิเศษ ในการปั้นหุ่นขั้นแรกจะต้องเตรียมดินก่อน เพราะการปั้นดินง่ายกว่าการทำหุ่นปูนปลาสเตอร์ ดินที่ใช้ปั้นเป็นดินเหนียวต้องนวดดินเหนียวให้ได้ที่แล้วนำมาวางบนแป้น กระดาน ปั้นเป็นรูปหุ่นแบบต่าง ๆ ตามต้องการ ทั้งนี้ต้องเข้าใจลวดลายและลักษณะหน้าตาของหัวโขนที่ทำเพื่อสร้างหุ่นให้ได้ แบบเป็นกลางและสามารถนำไปประยุกต์เป็นแบบต่าง ๆ ได้ในโอกาสต่อไป เมื่อปั้นดินเป็นหุ่นเรียบร้อยแล้วจึงกลับหุ่นดินเป็นหุ่นปูนปลาสเตอร์เพื่อ จะได้เป็นหุ่นที่ถาวร การกลับหุ่นนี้อาศัยหลักการทำหุ่นปูนปลาสเตอร์นั่นเอง
2) การพอกหุ่น และผ่าหุ่น เมื่อปั้นหุ่นได้เรียบร้อยตามความต้องการแล้ว เอาแป้งเปียกละเลงบนกระดาษสา (แต่เดิมนั้นใช้กระดาษข่อยแต่ในปัจจุบันไม่สามารถหากระดาษข่อยได้แล้วจึงใช้ กระดาษสาแทน) ซึ่งฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปิดลงให้รอบหุ่น การปิดกระดาษจะกำหนดกี่ชั้นก็ได้ให้หนาพอสมควรที่หุ่นจะทรงตัวอยู่ได้ โดยจะต้องปิดกระดาษเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเท่า ๆ กัน เมื่อเรียบร้อยแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 วัน เมื่อหุ่นแห้งแล้วนำมากวด หรือรีดเพื่อให้เรียบ แล้วใช้มีดผ่าด้านหลังของหุ่นทั้งนี้เพื่อให้หุ่นออกมาในรูปที่เรียบร้อย เมื่อเอากระดาษออกมาจากหุ่นแล้วใช้ลวดขนาดเล็กเย็บส่วนที่ผ่าเป็นระยะ ปิดกระดาษทับรอยลวดซึ่งเกิดจากการเย็บให้เรียบร้อยทั้งด้านในและด้านนอก ถึงขั้นนี้จะได้หุ่นกระดาษซึ่งเรียกกันว่า กะโหลก ใช้มีดคม ๆ เฉือน ตกแต่งกะโหลกให้เรียบร้อย ปิดกระดาษทับอีกครั้งหนึ่งจะได้หุ่นกระดาษที่สมบูรณ์พร้อมที่จะปั้นหน้าต่าง ๆ ได้
3) การแต่งหน้าหุ่น ติดลวดลาย และทำเครื่องประกอบ หุ่นกระดาษที่ได้ออกมาแล้วจำเป็นจะต้องตกแต่งให้สัดส่วนต่าง ๆ บนใบหน้านูนเด่นขึ้น โดยใช้รักปั้นทับตามรูปหน้า คิ้ว ตา ริมฝีปาก จมูก ไพรปาก แล้วปิดกระดาษสาทับ ส่วนใดที่ไม่เรียบใช้มีดตกแต่งและขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อย จะได้หุ่นที่คมชัดเพื่อทำการติดลวดลาย ลวดลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้หน้าโขนนั้น ๆ มองดูมีชีวิตชีวา การติดลวดลายเริ่มจากการใช้รักกระแหนะลายออกจากพิมพ์หินสบู่ที่แกะไว้จนได้ เป็นลายเส้นและลายกระจัง นำลายรักมาติดบนกะโหลกให้ครบ ซึ่งต้องใช้รักเทือก (ยางรักผสมกับน้ำมันยาง ก่อนใช้จะต้องนำมาให้ความร้อนเพื่อทำให้รักเทือกอ่อนตัว) เป็นตัวเชื่อมให้ลายเหล่านั้นติดแน่นอยู่กับกะโหลก การวางลวดลายจำเป็นต้องศึกษาลักษณะของหัวโขนในแต่ละแบบซึ่งไม่เหมือนกันและ เป็นไปตามแบบแผนโบราณซึ่งอาจดูได้จากภาพรามเกียรติ์ หรือภาพลายเส้นลวดลายหน้าเกี่ยวกับหัวโขน
รักที่ใช้ทำลายนี้เตรียมได้จากขั้นตอนที่พิเศษมาก ทำโดยนำยางรักมาเคี่ยวกับถ่านใบตองแห้ง หรืออาจใช้ถ่านกะลา ถ่านใบตาล หรือถ่านใบจากก็ได้ การเลือกใช้ถ่านนี้ควรเลือกใช้ถ่านที่มีน้ำหนักเบา และการเผาถ่านต้องเผาให้เป็นถ่านดำจริง ๆ ไม่มีเถ้าขาว เมื่อเคี่ยวรักจนได้ที่ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ หรือบางครั้งอาจนานเป็นเดือน แล้วนำมาจับเป็นก้อนเพื่อให้สะดวกในการใช้งาน การกระแหนะลายรักเริ่มต้นจากการนำรักมาปิ้งไฟให้อ่อนตัว ทุบและกลึงเป็นท่อน แล้วจึงนำรักมาคลึงลงบนพิมพ์กระแหนะซึ่งแกะจากหินสบู่ เมื่อแกะออกมาจะได้ลวดลายตามที่ต้องการ การกระแหนะลายรักเป็นงานที่ประณีตมากเพราะจะต้องแกะส่วนเล็กส่วนน้อยทีละ ส่วน จึงนำมาประกอบเข้าเป็นวัตถุเดียวกันภายหลัง
สำหรับหน้าโขนที่มีมงกุฎจะต้องเตรียมส่วนยอดไว้ด้วย ยอดของมงกุฎมีหลายชนิด เช่น ยอดชัย ยอดเดินหน ยอดหางไก่ ยอดน้ำเต้า เป็นต้น ยอดเหล่านี้เองเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหัวโขน เช่น วิรุญจำบัง เป็นหน้ายักษ์ที่มีมงกุฎยอดหางไก่ หรือแม้แต่หัวโขนหน้าเดียวกันยังอาจใช้ยอดแตกต่างกันไปตามโอกาส เช่น พระรามเมื่ออยู่ในเมืองจะใช้ยอดชัย แต่เมื่อเดินป่าหรือออกนอกเมืองจะใช้ยอดเดินหน ดังนั้นช่างที่ทำหัวโขนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ทำ หัวโขนออกมาได้อย่างถูกต้อง ยอดของมงกุฎนี้อาจทำจากกระดาษสาหรือกลึงจากไม้ก็ได้ ต่อจากนั้นจึงติดลายรักลงไปบนยอด
การแกะพิมพ์หินหรือพิมพ์กระแหนะเป็นงานที่ต้องอาศัยความสามารถในการสลักเป็น อย่างมากเพราะต้องใช้สิ่วเล็กๆ ค่อย ๆ สกัดหินออกให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น การทำกะบัง การทำมงกุฎพระ มงกุฎนาง ชฎาพระ ชฎานาง และอื่นๆ ความยากในการทำหัวโขนอยู่ที่การแกะพิมพ์นี่เองเพราะการทำพิมพ์นี้ขึ้นอยู่ กับวิธีการและฝีมือของช่างแต่ละคน ซึ่งไม่อาจถ่ายทอดกันได้และพิมพ์เช่นนี้ก็ไม่มีขาย จึงมีหัวโขนที่เป็นประณีตศิลป์ปรากฏออกมาไม่มากนัก
เครื่องประกอบที่กล่าวถึงนี้เป็นส่วนของหน้าโขนที่ไม่อาจใช้กระดาษสาหรือรัก ทำได้ เช่น จอนหู ซึ่งต้องใช้หนังวัวเป็นพื้นเพราะมีความแข็งแรง สามารถดัดให้โค้งงอตามความต้องการได้และ ข้อสำคัญหนังวัวที่นำมาทำจอนหูจะต้องฉลุสลักลวดลายให้งดงามตามแบบศิลปะของ การแกะสลัก แต่ก่อนที่จะสลักจะต้องเขียนแบบลงบนกระดาษแล้วปิดกระดาษลงไปบนหนังวัว ต่อจากนั้นจึงลงมือสลักแผ่นหนังวัวตามลวดลายในกระดาษ เสร็จแล้วจึงผนึกหนังที่ฉลุลายให้แข็งแรงโดยใช้ลวดเป็นแกน ขั้นต่อมาคือการนำแผ่นหนังที่ฉลุเป็นรูปจอนหูไปประกอบกับหุ่นกระดาษซึ่งติด ลวดลายไว้พร้อมแล้ว หลังจากนั้นจึงติดลายรักลงบนจอนหูให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ยังต้องติดเครื่องประกอบอื่น ๆ ให้แก่หัวโขน คือ ตา ฟัน เขี้ยว และงา ซึ่งทำจากหอยมุกโข่งไฟ เครื่องประกอบเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของหัวโขน เช่น ทศกัณฐ์ต้องมีตาโพลง และเขี้ยวโง้ง หรือหน้าพระพิฆเนศวร์จะต้องมีงา 2 ข้าง โดยที่งาข้างซ้ายจะต้องหัก (ตามบทพากย์โขนในตอน พระพิฆเนศวร์เสียงา)
4) การปิดทองและติดพลอย การปิดทองคำเปลวจะปิดลงบนหัวโขนตรงส่วนที่เป็นลายรัก หรืออาจปิดบริเวณหน้าของหัวโขนในกรณีที่หัวโขนมีหน้าสีทอง เพื่อให้หัวโขนมีความสวยงามและความสุกปลั่งของทองคำเปลว
การติดพลอยจะประดับเฉพาะมงกุฎ หรือกรอบพักตร์ จอนหู และลายท้าย (อยู่ตรงท้ายทอยของหัวโขน) เท่านั้น มิให้ติดส่วนอื่นของหัวโขนที่มิได้เป็นเครื่องประดับเลย แต่เดิมนั้นการประดับหัวโขนจะใช้กระจกเกรียบแต่เนื่องจากปัจจุบันกระจก เกรียบเป็นของหายาก ช่างทำหัวโขนส่วนใหญ่จึงหันมาใช้พลอยแทนกระจกเกรียบ ทั้งนี้เพราะส่วนประกอบต่าง ๆ ต้องผันแปรไปตามสภาพโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความคงทนของวัสดุและความงดงามของศิลปะเป็นสำคัญ
5) การลงสี การเขียนลวดลายลายลงบนหัวโขน การลงสีหน้าโขนนั้นเป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสี ต่าง ๆ ในพงศ์รามเกียรติ์ให้ถ้วนถี่เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสีของหน้าโขนแต่ละหน้าไม่เหมือนกัน เช่น พระรามมีหน้าสีเขียวนวล แต่พระลักษณ์จะมีหน้าสีทอง แม้สีเดียวกันยังมีโทนสีที่แตกต่างกันสำหรับหัวโขนที่แตกต่างกัน เช่น พระปรคนธรรพใช้สีเขียวใบแค ส่วนพระรามใช้สีเขียวนวล ดังนั้นการผสมสีให้ถูกส่วนและสีถูกต้องตามพงศ์นั้นเป็นสิ่งที่ควรคำนึงอย่าง ยิ่งอีกประการหนึ่ง
ลักษณะการเขียนลวดลายไทยเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดในการทำหัวโขนออกมาในรูป ของความประณีตละเอียดอ่อนได้ ฉะนั้นช่างทำหัวโขนจึงต้องศึกษาลวดลายเพื่อฝึกฝนให้ชำนาญโดยเฉพาะ “ลายฮ่อ” จะปรากฏมีอยู่ทุกหน้าของหัวโขน นอกจากนี้แล้วลายไทยในการวาดภาพประเภทลายเส้นมีส่วนทำให้การเขียนดีขึ้น การฝึกฝนฝีมือให้ชำนาญย่อมทำให้การเขียนลวดลายงดงาม หลังจากลงสีหัวโขนเรียบร้อยแล้วจึงเขียนลวดลายต่าง ๆ เช่น เส้นคิ้ว ตา ปาก ไพรปาก เส้นฮ่อ ลงบนหน้าโขน การเขียนลวดลายแต่ละหน้าต้องตกแต่งอย่างละเอียดตามลักษณะของหน้าโขนชนิดนั้น ๆ ความประณีตของลวดลายมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะส่วนนี้เองทำให้ผู้ชมเกิดความ รู้สึกว่างานนั้นงดงาม หรือ ประณีตเพียงไร
การดูแลรักษา หัวโขนเป็นสิ่งประดิษฐกรรมอันประณีตวิจิตร เป็นสิ่งควรทะนะถนอมและเก็บรักษาให้คงสภาพดีอยู่เสมอ หัวโขนที่ใช้สวมศีรษะออกแสดงโขนนั้น นอกเวลานำออก ใช้มักได้รับการการเก็บรักษาไว้ในภาชนะชนิดหนึ่งเรียกว่า ลุ้ง ประกอบด้วยตัวลุ้ง ฝาครอบสำหรับป้องกันหัวโขนที่เก็บรักษาไว้ภายในมิให้ชำรุด
ลุ้งสำหรับใส่หัวโขนนี้ มักทำเป็นรูปทรงกระบอกเตี้ย ๆ ตรงกลางตัวลุ้งตั้ง ทวน คือ หลักเตี้ยมีแป้นกลมสำหรับรองรับหัวโขนและชฎา ส่วนฝาลุ้งนั้นถ้าเป็นลุ้ง สำหรับเก็บหัวโขนอย่างหัวกลมเช่นศีรษะลิงโล้น ศีรษะยักษ์โล้นมักทำฝาหลังตัดตรง ถ้าเป็นลุ้งสำหรับเก็บหัวโดดดขนอย่างมีเครื่องยอดทรงมงกุฎหรือชำาก็มัก ทำฝาเป็นรูปกรวยกลมทรงสูงบ้างเตี้ยบ้าง เพื่อให้มีที่ว่างพอเหมาะแก่ขนาดสูงของเครื่องยอดชนิดนั้นๆลุ้งสำหรับเก็บ รักษาหัวโดดดขนนี้แต่ก่อนทำขึ้นด้วย เครื่องจักรสานลงรัก ต่อมานิยมทำด้วยสังกะสีต่อเป็นลุ้งดังกล่าว และมักทาสีภายนอกลุ้งต่างๆสี
การรักษาหัวโขนขนถ้าไม่เก็บไว้ในลุ้ง หากประสงค์จะตั้งแต่งไว้สำหรับดูชม จะต้องมี ทวน ตั้งขึ้นเทินหัวโขนให้สูงขึ้นจากพื้น ทำด้วยไม้ท่อนกลึงเป็นหลักทวน กับมีแป้นกลมตรงปลายทวนสำหรับรองรับหัวโขน ทวนคันหนึ่งๆขนาดสูงประมาณ ๑๐-๑๒ นิ้ว เมื่อนำเอาหัวโขนสวมตั้งบนทวนเช่นนี้แล้ว หัวโขนจะลอยเหนือพื้นพอสมควร การที่ต้องตั้งหัวโขนไว้บนทวนเช่นนี้ก็เพื่อให้ความสำคัญแก่หัวโขนทั้งนี้ เนื่องด้วยเป็นเครื่องสวมศีรษะเป็นของสำหรับ อวัยวะส่วนที่สูงที่สุดของร่างกายจึงไม่คววรตั้งวางหัวโดขนไว้บนพื้นซึ่งการ วางไว้บนพิ้นก็อาจเป็นเหตุให้หัวโขนล้มกลิ้ง ไปกระทบเข้ากับของข้างเคียงเกิดชำรุดเสียกายได้
อนึ่ง หัวโขนที่ใช้สวมในการแสดงโขนยังได้รับความนับถือ ไม่วางไว้ในที่ต่ำ ไม่ทำตกลงบนพื้น ไม่ข้ามมกราย เนื่องด้วยถือว่าเป็นของสูง ซึ่งเป็นประเพณีที่ดี และความประพฤติอันเรียบงามเป็นวิสัยปกติสำหรับคนไทยที่ถือปฏิบัติเนื่องๆมา
สกุลช่างเมืองเพชร งานปูนปั้น
งานปูนปั้น นับเป็นงานช่างสาขาหนึ่งของเพชรบุรีที่สืบทอดต่อกันมานาน เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นิยมกันมาแต่โบราณ มีทั้งงานปั้นองค์พระพุทธรูปและปั้นประดับตกแต่งอาคารสิ่งก่อสร้างทาง สถาปัตยกรรมหน้าบัน อุโบสถ วิหาร ฐานพระพุทธรูป ฐานเจดีย์ ลายที่ปั้นมักเป็นลายไทยที่มีความวิจิตรพิสดารผสมผสานกันอยู่กันรูปปั้นพุทธ ประวัติ ประกอบด้วย เทพ เทวดา สัตว์หิมพานต์ และสัตว์ในวรรณคดี ใน อดีตการปั้นจะใช้ปูนซึ่งทำมาจากเปลือกหอยเผาไฟที่นำไปตำจนละเอียดผสมกับน้ำ อ้อย กระดา หนังหรือเขาสัตว์เผาไฟ แล้วนำไปตำรวมกัน ทำให้ได้ปูนที่มีความเหนียวสามารถปั้นเป็นรูปต่างๆได้ง่าย และเมื่อแห้งแล้ว จะแข็งตัวและทนแดด ทนฝนได้ดี เรียกว่า ปูนเพชร ปัจจุบัน ช่างปั้นจะใช้ปูนขาวสำหรับปั้น ที่มีขายในท้องตลาดไปตำรวมกับกระดา กาวหนังสัตว์ ทรายละเอียดและน้ำเพื่อให้ได้ปูนที่มีความเหนียวพอดีเหมาะสำหรับงานปั้น งาน ปูนปั้นตามรูปแบบของจังหวัดเพชรบุรี นิยมทำร่วมกับงานลงรักปิดทองและประดับกระจก เมื่อดูแล้วจะแข็งแรง ทนทานไม่หดตัวง่าย แพรวพราวมีลายเด่น ช่วยเสริมให้งานประกอบปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้น เช่น ฐานพระ เป็นต้นงานปูนปั้นที่มีความโดเด่นสวยงามในเมืองเพชรมีหลายแห่ง ประดับอยู่ตามอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีมากตามวัดทั่วไป อาทิ งานปูนปั้นหน้าบันพระวิหารหลวง พระปรางค์ และงานปูนปั้นโดยทั่วไปของศาลาวัดมหาธาตุวรวิหาร ผลงานของช่างเมืองเพชรหลายท่าน เช่นนายพิณ อินฟ้าแสง นายทองร่วง เอมโอษฐ นายเฉลิม พึ่งแตง นายสมพล พลายแก้ว หน้าบันวิหารพระคันธารราฐ วัดพลับพลาชัย ฝีมือของนายพิณอินฟ้าแสง หน้าบันและซุ้มประตูอุโบสถวัดปากคลอง ฝีมือ นายแป๋ว บำรุงพุทธ เป็นต้น ส่วนงานปูนปั้นฝีมือช่างสมัยอยุธยามีปรากกอยู่หลายแห่ง เช่น วัดไผ่ล้อม วัดสระบัว วัดเกาะ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร วัดบันไดอิฐ เป็นต้น
ในการที่จะสร้างงานประติมากรรมปูนปั้นให้ได้ดีนั้นต้องมีความมุ่งมั่นขยันพาก เพียรในการปฏิบัติ เพราะเมื่อเริ่มปฏิบัติในช่วงแรกจะมีความรู้สึกยาก แต่พอปฏิบัติผ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเข้ามือมีทักษะในการปั้นขึ้นและสนุกกับการ ปั้น เปรียบเสมือนการฝึกขับรถใหม่ๆ จะดูสับสนไปหมด เพราะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายแต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งจะเกิดทักษะในการ ปฏิบัติงานขึ้น การปั้นรูปนอกจากจะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญแล้วยังส่งผลประโยชน์ทั้งทางร่าง กายและจิตใจ บางคนฝึกสมาธิโดยการปั้นรูปเพราะจะทำให้สมาธินิ่งขึ้นหรือการนวดปูน การขึ้นรูปปูนเป็นการใช้แรงออกกำลังกายอย่างหนึ่งทำให้สุขภาพแข็งแรงดีเลือดลมสูบฉีด สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากในกระบวนการปั้นนั้นจะต้องวาดเส้น ( Drawing ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่กับงานปั้น ประติมากรที่เก่งนั้นจะวาดเส้นดีทุกคนเพราะพื้นฐานสำคัญในการปั้นรูปให้ได้ดี
ปราณีตศิลป์ประเภทงานปูนปั้น
ประณีตศิลป์ประเภทต่อไปนี้ เป็นไปในลักษณะงานปั้นโดยอาศัยปูนโขลกปูนตำเป็นวัสดุสำคัญ ปั้นทำลวดลายประดับสำหรับตกแต่งติดกับวัตถุสถานต่าง ๆ เช่นพื้นหน้าบันกรอบซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นต้น ประณีตศิลป์ประเภทงานปูนปั้น มิใช่ประณีตศิลป์ที่เพิ่งจะมาเกิดมีขึ้นเป็นคราวแรกใน รัชกาลที่ 3 งานปูนปั้นที่จัดเป็นประณีตศิลป์ได้มีอยู่แล้วและทำสืบกันลงมาแต่โบราณ ส่วนงานปูนปั้นซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างรัชกาลที่ 3 นั้น มีสาระสำคัญอันเนื่องมาแต่พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นการใหม่ ๆ ต่างกว่าขนบนิยมของงานปูนปั้น อันเคยถือปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ซึ่งจะได้อธิบายเรื่องนี้โดยเฉพาะต่อไปข้างหน้า งานปูนปั้นที่ได้ทำขึ้นสำหรับตกแต่งวัตถุสถานต่าง ๆ เมื่อรัชกาลที่ 3 นั้น สังเกตได้ว่าใช้ปูนตำ 2 ชนิดด้วยกันคือปูนผสมน้ำกาวชนิด 1 กับปูนผสมน้ำมันอีกชนิด 1 คุณสมบัติของปูนตำทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความคงทนเสมอกัน แต่ จะต่างกันที่ปูนผสมน้ำมันนั้นมีสิ่งมาร่วมผสมทำให้เนื้อปูนละเอียดกว่าปูน ผสมน้ำกาวปูนตำชนิดนี้จึงมักใช้ปั้นสิ่งที่ต้องการแสดงส่วนละเอียดให้ได้มาก ชัดเจน และวิจิตรประณีต ส่วนปูผสมน้ำกาวเนื้อปูนติดจะหยาบจึงใช้ปั้นแต่ของใหญ่ ๆ ไม่สู้ต้องการแสดงส่วนละเอียดมากนัก งานปูนปั้นที่เป็นการเนื่องด้วยพระราชดำริขึ้นใหม่ในรัชกาลนี้ มีสาระสำคัญในด้านความคิดและรูปแบบซึ่งจะเห็นได้ในงานปูนปั้นต่าง ๆ ต่อไปนี้
งานช่างปั้นปูนสด
ศิลปะ ปูนปั้น เป็นเทคนิคการประดับตกแต่ง ที่ช่างไทย นิยมนำ มาใช้ในการตกแต่งลวดลายบนงานสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้าง ด้วยอิฐ หรือ ศิลาแลง มีปรากฏตั้งแต่สมัยทวารวดี และยังคงเป็นที่ นิยมสืบต่อกันมาทุก ยุคสมัย ดังจะพบเห็นได้ตามโบราณสถานโดย ทั่วไป ลวดลายเครื่องสถาปัตยกรรมที่ทำจากปูนปั้น มีทั้งที่เป็นรูป บุคคล รูปสัตว์ ลวดลายพันธุ์พฤกษา เป็นภาพเล่าเรื่องและอื่นๆ อีกมาก มีทั้งที่ทำเป็นภาพนูนสูง นูนต่ำ หรือทำเป็นประติมากรรมลอย ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคตินิยมและฝีมือช่าง
การ ปั้นปูนแบ่งออกเป็น ๒ วิธีใหญ่ๆ คือ การปั้นสด หรือ การปั้นที่ขึ้นรูปด้วยมือโดยตรง และการอัดปูนลงในแม่พิมพ์เป็นรูปลาย และยังมีการตกแต่งผิวของปูนปั้น เพื่อความสวยงามด้วยวิธีลงรักปิด ทอง ลงรักประดับกระจก หรือลงสีเขียนระบายด้วยก็ได้ลวด ลายปูนปั้นที่ประดับโบราณสถาน รวมทั้งเทคนิคในการทำแต่ละยุคสมัย จะมีรายละเอียดในรูปแบบ สามารถใช้ กำหนดอายุโบราณสถาน ที่มีลวดลายปูนนั้นๆ ประดับอยู่ได้ ลายปูนปั้นที่ประดับอยู่ตามโบราณสถานโดยทั่วไป มักอยู่ ในสภาพชำรุด เพราะภูมิอากาศ ความชื้น และฝนทำให้หักพังและหลุดร่วงได้ง่าย
ศิลปะ ปูนปั้นของไทย ที่นิยมปั้นตกแต่งอาคารพุทธสถาน ปราสาทราชวังมาแต่เดิมนี้ มีชื่อเรียกที่บ่งบอก ลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้
ปูนปั้น เรียกตามลักษณะการปฏิบัติงาน คือ การนำมาปั้นงานศิลปกรรม
ปูนโบราณ เรียกตามการจัดยุคสมัย
ปูนตำ เรียกตามลักษณะขบวนการสร้างเนื้อวัสดุสำหรับใช้งาน
ปั้นปูนสด ปูนสด เรียกตามลักษณะสภาพเนื้อวัสดุที่เป็นอยู่ในขณะนำไปใช้ซึ่งมีความหมายใกล้ เคียงกับ ชื่อขบวนการในการปฏิบัติงานประติมากรรมสากลอย่างหนึ่ง คือ ขบวนการปั้นสดด้วยปูนปลาสเตอร์
ปูนงบน้ำอ้อย ปูนน้ำอ้อย ปูนน้ำมัน ปูนน้ำมันทั่งอิ้ว เรียกตามส่วนผสมที่มีอยู่ในเนื้อวัสดุ
ปูนไทย ปูนจีน ปูนฝรั่ง เรียกตามวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาในทางช่าง
ปูนเพชร เรียกตามคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของเนื้อปูน เนื่องจากเมื่อแห้งและแข็งตัวแล้วจะแข็งแกร่งมาก ประดุจเพชร ปูนปั้นนี้มีมาแต่โบราณมีอยู่ทั่วทุกภาคทุกพื้นที่ของอาณาจักรสยาม เมื่อมีวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสมัย รัตนโกสินทร์มีการนำเทคนิค และวัสดุใช้งานแบบใหม่เข้ามา คือ ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ขบวนการช่างไทย ของเดิมถูกทอดทิ้งไป แต่ด้วยความรักและหวงแหนในวิชาช่างปั้นปูนสด ของสกุลช่างเมืองเพชรบุรี แห่งจังหวัดเพชรบุรี และอีกหลายแหล่งในภาคอื่นๆ เช่น ช่างปั้นทางภาคเหนือ จึงสามารถอนุรักษ์ไว้ได้ ฝีมือช่างปั้นช่างเพชรบุรีเป็นที่ติดตา ต้องใจของผู้คนเป็นพิเศษ จนอาจเข้าใจว่าปูนเพชรแปลว่าปูนของช่างเมืองเพชรบุรีไป
ปูนหมัก เรียกตามขบวนการผลิตเนื้อปูนที่ต้องหมักไว้ก่อนใช้งาน
ในการที่จะสร้างงานประติมากรรมปูนปั้นให้ได้ดีนั้นต้อง มีความมุ่งมั่นขยันพากเพียรในการปฏิบัติ เพราะเมื่อเริ่มปฏิบัติในช่วงแรกจะมีความรู้สึกยาก แต่พอปฏิบัติผ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเข้ามือมีทักษะในการปั้นขึ้นและสนุกกับการ ปั้น เปรียบเสมือนการฝึกขับรถใหม่ๆ จะดูสับสนไปหมด เพราะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายแต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งจะเกิดทักษะในการ ปฏิบัติงานขึ้น การปั้นรูปนอกจากจะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญแล้วยังส่งผลประโยชน์ทั้งทางร่าง กายและจิตใจ บางคนฝึกสมาธิโดยการปั้นรูปเพราะจะทำให้สมาธินิ่งขึ้นหรือการนวดปูน การขึ้นรูปปูนเป็นการใช้แรงออกกำลังกายอย่างหนึ่งทำให้สุขภาพแข็งแรงดีเลือด ลมสูบฉีด สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากในกระบวนการปั้นนั้นจะต้องวาดเส้น ( Drawing ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่กับงานปั้น ประติมากรที่เก่งนั้นจะวาดเส้นดีทุกคนเพราะพื้นฐานสำคัญในการปั้นรูปให้ได้ ดี
ภาพถ่าย โดยช่างภาพสมัครเล่นอิสระ คุณเกรียงไกร รักมิตร