เพชรบุรี เป็นเมืองแห่งช่างศิลป์ที่สืบทอดกันมาช้านาน มีรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็น “สกุลช่างเมืองเพชร” ที่สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย รวมทั้งมีส่วนร่วมกับงานพระราชพิธีสำคัญๆ ของประเทศมา ตลอดงานสกุลช่างเมืองเพชรที่มีมาแต่โบราณและยังคงอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย

งานปูนปั้น ตามรูปแบบของช่างเพชรบุรี นิยมทำร่วมกับการลงรักปิดทองและประดับกระจก ดูแล้วมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่หดตัวมีลายเด่นช่วยเสริมให้งานประกอบปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา ทำให้เกิดช่างปูนปั้นขึ้นตามวัดต่างๆ

งานลายรดน้ำ รวมอยู่ในหมู่ช่างรักอันเป็นช่างหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ ตกแต่งเครื่องใช้ เครื่องประดับ โดยการเขียนลวดลายและรูปภาพด้วยวิธีการปิดทองรดน้ำงานที่นิยมใช้ลายรดน้ำ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม บานประตูหน้าต่าง

งานลงรักปิดทองประดับกระจก พบเห็นได้ทั่วไปทั้งที่ถ้ำเขางู เพชรบุรี และฐานพระประธานในอุโบสถบางวัด เช่น พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุวรวิหาร ฐานพระประธานในอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร รวมทั้งตามหน้าบันอุโบสถ ช่อฟ้า ใบระกา ธรรมาสน์ คันทวย และฐานชุกชีพระพุทธรูปวัดต่างๆ

งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่ต่อเนื่องมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตน โกสินทร์ตอนต้น ปรากฏอยู่ตามอุโบสถเกือบทุกวัด เช่น วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร ฝีมือขรัวอินโข่ง เป็นต้น

งานช่างทอง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มช่างทองรูปพรรณ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน ตุ้มหู

งานแทงหยวก เป็น ศิลปะการแทงหยวกชั้นแนวหน้าของประเทศ เพราะคนเพชรบุรีนิยมสร้างเมรุลอยสำหรับใช้เผาศพ ซึ่งมีธรรมเนียมแตกต่างไปจากที่อื่น โดยเฉพาะการตั้งเมรุที่คล้ายพิธีหลวง 7.งานตอกกระดาษ เป็นลวดลายมีทั้งลายไทย รูปสัตว์ในวรรณคดี สิบสองนักษัตร หรือลายประดิษฐ์อย่างอื่นตามต้องการ ใช้สำหรับประดับหรือตกแต่งสถานที่หรือเครื่องมือเครื่องใช้ งานตอกกระดาษสามารถพบเห็นได้เฉพาะงานศพหรืองานบุญเท่านั้น

งานจำหลักหนังใหญ่ เป็นการฉลุลายบนหนังวัวหรือหนังควายที่ขูดขนหรือฟอกหนังตากแห้งดีแล้วให้ เป็นรูปตัวละครในวรรณคดี หนังใหญ่เมืองเพชรมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ปัจจุบันตัวหนังใหญ่เหลือเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดพลับพลา ชัยเพียงไม่กี่ตัว

งานแกะสลักไม้ มักสลักลวดลายประดับอาคาร เช่น ลวดลายหน้าบัน คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตู ธรรมาสน์ งานแกะสลักไม้ที่ขึ้นชื่อที่สุดคืองานแกะสลักไม้ประตูศาลาการเปรียญวัดใหญ่ สุวรรณารามวรวิหาร ฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา

งานปั้นหัวโขน หัวละคร ส่วนใหญ่จะเป็นหัวละครที่เป็นตัวเอกในวรรณคดีต่างๆ งานปั้นหัวสัตว์ นำ เอาส่วนที่เป็นเขาของวัว ควาย เก้ง หรือกวางที่เสียชีวิตแล้วมาติดเข้ากับหัวที่ปั้นขึ้น ประดับฝาผนังวัด บ้านเรือน หรือทำขึ้นเพื่อระลึกถึง หรือแสดงความผูกพันที่มีต่อสัตว์เลี้ยง พบเห็นได้ทั่วไปเกือบทุกวัดในเพชรบุรี ปัจจุบันมีการประยุกต์งานปั้นหัวสัตว์เป็นปั้นสัตว์ทั้งตัวเสมือนจริงแต่ไม่กี่วันที่ผ่านมามีการปลุกระดมคนไปทุบทำลายงานฝีมือปูนปั้นที่ฐานชุกชีถึงในวัด