.
สถาบัน
ประวัติสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การบริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน การส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมถึงงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและศาสนา งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น งานต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัยส่งเสริมเผยแพร่และสืบสานวัฒนธรรม ตลอดถึงงาน หอวัฒนธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เดิมคือ สำนักศิลปวัฒนธรรม มีพันธกิจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย ศูนย์ฝึกอบรมและบริการวิชาการ ทำหน้าที่บริการวิชาการ ต่อมาศูนย์วิจัยและศูนย์ฝึกอบรมได้ยุบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกันในปี พ.ศ. 2538 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิจัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และในปี 2542 วันที่ 12 ตุลาคม 2542 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิจัยและบริการวิชาการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 วันที่ 14 มิถุนายน 2547 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีอีกครั้งหนึ่ง จึงมีผลทำให้สำนักวิจัยและบริการวิชาการและสำนักศิลปวัฒนธรรมยุบรวมกันมีชื่อใหม่ว่า “สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม”ปรัชญา “องค์กรเข้มแข็ง เครือข่ายเข้มแข็ง สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
วิสัยทัศน์ “ภายในปี 2564 จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการพันธกิจโดยใช้วัฒนธรรมและชุมชนเป็นรากฐานแห่งการพัฒนาองค์ความรู้สู่นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์”
พันธกิจ
1. บริหารจัดการองค์กรร่วมสมัยตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการ บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น
4. ส่งเสริม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และความเป็นไทย โดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ และบูรณาการงานตามพันธกิจหลักของหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ
เอกลักษณ์ “องค์กรเข้มแข็ง เครือข่ายเข้มแข็ง สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
อัตลักษณ์ “ภายในปี 2564 จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการพันธกิจโดยใช้วัฒนธรรมและชุมชนเป็นรากฐานแห่งการพัฒนาองค์ความรู้สู่นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์”
ค่านิยมองค์กร
ค่านิยมหลักขององค์กร (Core Value) นั้น เป็นแก่นสำคัญที่ทุกคนในองค์กรจะยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน สำหรับสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมเป็นที่มาแห่งความสำเร็จ ซึ่งในการปฏิบัติงานทุกตำแหน่ง ถ้าหากบุคลากรภายในองค์กรมีความศรัทธาในภูมิปัญญาขององค์กรก็ยอมประสบกับความสำเร็จ แต่เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรจำได้ง่ายจึงได้ทำตัวอักษรตัวหน้ามาเรียงตามลำดับได้ว่า SMART
1. Service Mind การมีจิตใจมุ่งบริการ
2. Moral and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
3. Accountability การมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงานและสาธารณะ
4. Realistic เป้าหมายต้องสามารถเป็นจริงได้
5. Teamwork การมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละองค์กร ที่ถูกหล่อหลอมมาจากความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ จนสะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
1. มีความศรัทธา จงรักภักดีต่อองค์กร คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นใน กฎระเบียบและธรรมาภิบาล
2. มีความตื่นตัว กระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลง และมีจิตใจของการให้บริการ
3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานอย่างสร้างสรรค์ ขยัน อดทน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. ทำงานเป็นทีม เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง สามัคคี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในองค์กร
ประวัติสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ถ้าท่านย่างก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมองไปทางด้านซ้ายมือก็จะเห็น
หมู่เรือนไทยเมืองเพชร ตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางแมกไม้ที่ร่มรื่นและสนามหญ้าเขียวขจี ยามเมื่อ
แดดอ่อนรอนลง ภาพของหลังคาทรงไทย เรือนโซ่ง และป้ายปูนปั้น “หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ”
จะสะท้อนเงาลงในสระน้ำรังสรรค์เป็นภาพอีกมิติหนึ่งที่ งดงามยิ่งนัก
สายด่วนผู้บริหาร
โทรศัพท์ 062-8936235
****************************************************
ติดต่อหน่วยงาน
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม (อาคารเรือนไทย)
ที่อยู่ 38 ม.8 ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
โทรศัพท์ 032-608-708
โทรสาร 032-708-655
อีเมล์ : reserch@mail.pbru.ac.th หรือ research_pbru@yahoo.com