Home ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกีฬาและด้านท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกีฬาและด้านท่องเที่ยว

by ณภัค เชื้อเพชร
5 views

🟢🟡 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกีฬาและด้านท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 3 – 4 กุมภาพันธ์ 2568

🎫🎯 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่บ้านหัวตาลแถว อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านหัวตาลแถว และผู้นำ ชุมชนปากน้ำปราณ เพื่อดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : ด้านกีฬา โดยพื้นที่บ้านหัวตาลแถว เชื่อมโยงกับพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรีในโปรเจค “Sea to Mountain” เชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว โดยพื้นที่ตาลหัวแถว เป็นพื้นที่ความลาดชันต่ำ นักท่องเที่ยวและนักกีฬาวิบากสามารถปีนเขาจุดนี้ เพื่อขึ้นไปชมวิวที่เขาดินสอได้ ซึ่งสถาบันวิจัยฯ วางแผนจะพัฒนาเป็นกีฬาวิบากและจุดชมวิวและสามารถสร้างรายได้ต่อไป ทั้งนี้ สถาบันวิจัยฯ ได้เชื่อมโยงกับพื้นที่ปากน้ำปราณซึ่งเป็นพื้นที่จะที่เชื่อมโยงเส้นทางวิบากด้วยรถ Endoro ซึ่งเป็นรถมอเตอร์ไซค์วิบากเพื่อการแข่งขันเพื่อการทรงตัว สามารถดำเนินการเป็นแพ็คเกจการท่องเที่ยววิบากได้ โดยกำหนดจัดกิจกรรมในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568

⭐️🌈 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและงานบริการและพัฒนาท้องถิ่นประชุม ร่วมกับ นายประสิทธิพร คงหอม นายอำเภอทับสะแก และนายภัทรดนัย สมศรี กำนันตำบลแสงอรุณ ในการพัฒนาพื้นที่ตำบลหินเทิน ตำบลแสงอรุณ ลงพื้นที่บ้านหินเทิน ตำบลแสงอรุณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเก็บข้อมูลการต่อยอดสินค้าผลิตภัณฑ์ Soft Power โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : ด้านการท่องเที่ยว ด้วยโปรเจค “Coconut Paradise” ท่องเที่ยวไปในชุมชนแห่งมะพร้าว ทั้งนี้ยังมีฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ฐานการเรียนรู้น้ำตาลมะพร้าว ฐานการเรียนรู้การทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจะดำเนินการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายและเส้นผม (Hair and Body Wellness and Health) อาทิ มาร์กหน้าจากสารสกัดมะพร้าว ทรีตเมนต์สารสกัดจากมะพร้าว ผลิตภัณฑ์ทาผิวและผลิตภัณฑ์อาบน้ำ เป็นต้น โดยกำหนดเปิดตัวและจัดกิจกรรมในช่วงเดือนเมษายน 2568