เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ.2566 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พิชิต สุดตา รองประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลาลักษณ์ นวมสำลี กรรมการ อาจารย์ดร.พีรศุษย์ บุญมาธรรม กรรมการและเลขานุการ และนายณัฐพล อาบสีนาค ผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีบังบ่งชี้ที่ได้รับการตรวจประเมิน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้บังคับ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ ตัวชี้เฉพาะจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ โดยผลการประเมิน พบว่า สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้คะแนนการประเมิน 4.89 ระดับดีมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารของหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามภารกิจ (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 การส่งเสริมการใช้งานวิเคราะห์ หรืองานวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 ระดับความสำเร็จของการให้บริการ มีผลการประเมิน 5 คะแนน
- ตัวบ่งที่ที่ 1.4 ระดับความผูกพันของบุคลากร มีผลการประเมิน 4.73 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ระดับความสำเร็จการพัฒนาสู่สำนักงานสีเขียว (Green office) มีผลการประเมิน 4 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบการพัฒนาบุคลากร มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของผู้บริหารระดับหน่วยงาน มีผลการประเมิน 4.61 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมจากภายนอกของนักวิจัยประจำของสถาบัน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 จำนวนผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 การพัฒนาท้องถิ่น มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
- ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
จากผลการประเมินสถาบันวิจัยฯ มีจุดเด่นในการดำเนินงาน ดังนี้
- สถาบันวิจัยมีการพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การมีรูปแบบและกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นดังจะเห็นได้จากการที่นักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยหัวข้อการวิจัยที่ทันสมัยและตอบโจทย์การพัฒนาความยั่งยืนของท้องถิ่น
- มีการกำหนดแผนที่ชัดเจนและมีการกำกับติดตาม ให้ดำเนินงานตามแผนได้อย่างครบถ้วน
- ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานสามารถดึงศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้
- มีการนำแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบBCG มาใช้ ทำให้มีเป้าหมายเพื่อการจัดการกับวัตถุดิบได้ทุกส่วน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และใช้ทรัพยากรในชุมชนได้อย่างคุ้มค่า
- มีการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง หลายช่องทาง
- มีการนำการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการกับศิลปวัฒนธรรมสู่การ
สร้างองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ และเผยแพร่สู่สาธรณชนได้อย่างโดดเด่น