Home ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวงานพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการประชุม-อบรม-สัมมนา-ศึกษาดูงาน ผลิตภัณฑ์อบแห้งเชิงสร้างสรรค์แบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านด่านโง เพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร

ผลิตภัณฑ์อบแห้งเชิงสร้างสรรค์แบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านด่านโง เพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร

by นงลักษณ์
30 views

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อรองรับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ภายใต้กิจกรรม : พัฒนาศักยภาพในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งเสริมพลังปัญญาของชุมชนท้องถิ่น รายกิจกรรม : พัฒนาศักยภาพการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แบบเศรษฐกิจ BCG สำหรับแหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างพลังปัญญาของชุมชนท้องถิ่น จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรส่งเสริมการเป็น SMART farmer จากนวัตกรรมการอบแห้งอัจฉริยะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG ในภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติ (Workshop)

โดยมี ฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐานกิจกรรม ได้แก่

– ฐานการเรียนรู้ที่ 1 : พลังงานไฮโดรเจน

– ฐานการเรียนรู้ที่ 2 : การผลิตไฟฟ้าจากลม

– ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

– ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : การต่อแผงโซล่าเซลล์

– ฐานการเรียนรู้ที่ 5 : การผลิตไฟฟ้าจากน้ำ

และจัดกิจกรรม Workshop การใช้ประโยชน์จากตู้อบแห้งแบบครัวเรือนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านด่านโง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาชุมชนบ้านด่านโงสู่ความยั่งยืน (เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ สร้างผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ) โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ เป็นจำนวนมากเพื่อเกิดสัมมาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านด่านโง วิทยากรโดย…อาจารย์ชลีดล อินยาศรี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และทีมงาน โดยได้รับเกียรติจาก…ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวเปิดงานในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก… นายอนุรักษ์ ทับสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่านโง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ

เมื่อวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านด่านโง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

#สัมมาชีพชุมชนสร้างวิถีที่ยั่งยืน #พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น