โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีกรอบการสนับสนุนทุนวิจัย ดังนี้
1. นวัตกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์/ปลอดภัย ระบบฟาร์มอัจฉริยะ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร ได้แก่ เกลือทะเล สับปะรด กล้วยหอมทอง มะพร้าว มะนาว ตาลโตนด ข้าวพื้นเมือง สมุนไพร วัตถุดิบและอาหารพื้นถิ่น รวมถึงเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (เพิ่มมูลค่าทรัพยากรชายฝั่งทะเลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์) ได้แก่ สาหร่ายพวงองุ่น เคย กะปิ หอยสองฝา และปลาข้างเหลือง
2. การท่องเที่ยวและการบริการในเขตภูมิภาคตะวันตก การพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ไทยสิงขร-มะริด รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
3. การพัฒนาครูยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกช่วงวัย ยกระดับการศึกษาทุกช่วงวัย พัฒนานวัตกรรมจัดการศึกษา ให้กับ ร.ร.ต้นแบบ/ร.ร.ตชด./ร.ร.กองทุน/ศูนย์เด็กเล็ก การยกระดับด้านภาษาไทยและต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ
4. สังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บริการได้รับการคัดกรองและดูแลแบบองค์รวม ที่มีการจัดการสภาพแวดล้อม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนา สุขภาวะที่ดี เกิดเป็นชุมชนต้นแบบผู้สูงอายุและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร
5. เขตเศรษฐกิจชายแดน ระบบโลจิสติกส์และการขนส่งเพื่อการบริหารตลาดกลางสำหรับสินค้าทางการเกษตร ของพื้นที่ระหว่างไทย-เมียนมา ได้แก่ ด่านสิงขร-มะริด ด่านน้ำพุร้อน และด่านเจดีย์สามองค์-ทวาย
6. พัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศ (สอดคล้องกับนโยบายประเทศ) พลังงานทดแทน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำ มาตรการป้องกันภัยพิบัติจากการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และระบบวิจัยและนวัตกรรม
7. การบูรณาการงานวิจัย ร่วมกับผู้ประกอบการในเชิงพาณิชย์ เป็นโครงการตามความต้องการของภาคเอกชนและภาคเอกชนต้องสมทบทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
8. โครงการบูรณาการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เกิดจากความต้องการของชุมชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเพชรบุรีและประจวบ ฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ มรภ. ระยะ 20 ปี ทั้งในด้านการพัฒนาท้องถิ่น (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา) ด้านการผลิตและพัฒนาครู ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
9. ระบบบริหารจัดการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการในองค์กรและท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล
กำหนดการรับข้อเสนอการวิจัยอย่างย่อ
1. นักวิจัยสามารถยื่นขอเสนอได้ที่ สถาบันวิจัยฯ พร้อมบันทึกข้อความขอส่งข้อเสนอโครงการวิจัย
หรือทาง E-mail : research@mail.pbru.ac.th
**ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2562