วันที่ 5–6 กรกฎาคม 2568
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์ใช้ Generative AI เพื่อส่งเสริมการเขียนงานวิจัย” ระหว่างวันที่ 5–6 กรกฎาคม 2568 ณ ห้อง SU504 อาคารนิวัตสโมสร (อาคาร 25) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนอาจารย์และนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Generative AI) มาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหา และเขียนบทความวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Workshop) กับโปรแกรมและแพลตฟอร์ม AI ที่หลากหลาย
โดยหัวข้อการอบรม ประกอบด้วย
- การบรรยายหัวข้อ “แนวทางในการใช้ AI เพื่อสนับสนุนกระบวนการวิจัยของมหาวิทยาลัยท้องถิ่น”
- Workshop 1: การสร้างและย่อเนื้อหาทางวิชาการ/วิจัย ด้วย Generative AI เช่น ChatGPT, Gemini, Claude, DeepSeek, Qwen 2.5
- Workshop 2: การใช้ AI เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ เช่น Perplexity, SciSpace, Google Scholar
- Workshop 3: การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบไวยากรณ์ เช่น Julius AI, Quilt Bot, Grammarly
- Workshop 4: การเขียนบทความวิจัยและบทความวิจัยด้วย ChatGPT, Claude และเครื่องมืออื่น ๆ
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
รศ.ดร.ณรงค์ สมพงษ์ อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(นักวิชาการสาขาเทคโนโลยีการศึกษา และ ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาทุนวิจัย วช.)
ผศ.ดร.สุรกิจ ปรางสระ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและสื่อดิจิทัล คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล อาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้โปรแกรม ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการศึกษา)
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยให้กับคณาจารย์และบุคลากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองใช้เครื่องมือ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำผลงานวิจัย และเตรียมความพร้อมสู่การเผยแพร่ผลงานในระดับชาติและนานาชาติ