เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลาลักษณ์ นวมสำลี รองประธานกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ศิริธนาวงศ์ กรรมการ อาจารย์ ดร.จุติพร อินทะนิน กรรมการและเลขานุการ นางสาวณัฏฐณิชา สาวสวรรค์ ผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีบังบ่งชี้ที่ได้รับการตรวจประเมิน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้บังคับ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ ตัวชี้เฉพาะจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ โดยผลการประเมิน พบว่า สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้คะแนนการประเมิน 4.89 ระดับดีมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารของหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามภารกิจ (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 การส่งเสริมการใช้งานวิเคราะห์ หรืองานวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน (ตบช.บังคับ) มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 ระดับความสำเร็จของการให้บริการ มีผลการประเมิน 5 คะแนน
ตัวบ่งที่ที่ 1.4 ระดับความผูกพันของบุคลากร มีผลการประเมิน 4.73 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ระดับความสำเร็จการพัฒนาสู่สำนักงานสีเขียว (Green office) มีผลการประเมิน 4 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบการพัฒนาบุคลากร มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของผู้บริหารระดับหน่วยงาน มีผลการประเมิน 4.72
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมจากภายนอกของนักวิจัยประจำของสถาบัน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 จำนวนผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 การพัฒนาท้องถิ่น มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการประเมิน 5.00 คะแนน
จากผลการประเมินสถาบันวิจัยฯ มีจุดเด่นในการดำเนินงาน ดังนี้
- บุคลากรมีความสามารถตามสมรรถนะของหน่วยงาน
- บุคลากรมีจิตบริการ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีการให้บริการที่ดีทั้ง 3 พันธกิจ การวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปะวัฒนธรรม ทั้งในด้านการประสานงานโครงการ การติดตามที่ดี การเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นไปตามกรอบเวลา
- มีกลไกในการสนับสนุนในการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอก
- ได้รับการจัดสรรงบประมาณการทำงานบริการวิชาการเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ / แนวทางเสริมจุดแข็งที่ต้องการ
- ควรมีการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
- เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และการยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคลากรที่ได้รับทุนวิจัย หรือได้รับการตีพิมพ์
ด้านวิจัย
- พัฒนาฐานข้มูลบริหารงานวิจัยทุกแหล่งทุน ครอบคลุมระบบบริหารโครงการ การเผยแพร่ผลงานวิชาการ
- การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติ เช่น การตรวจเช็คภาษา
- เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ถึงระดับสาขาวิชา
ด้านบริการวิชาการ
- พัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการ ด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม
- พัฒนาฐานข้อมูลกลางบริการวิชาการ
- ควรมีจัดสรรภาระงานที่เหมาะสมกับงานบริการวิชาการ เพื่อสร้างแรงจู.ใจในการทำงานบริการวิชาการ