ประวัติสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การบริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน การส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมถึงงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและศาสนา งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น งานต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัยส่งเสริมเผยแพร่และสืบสานวัฒนธรรม ตลอดถึงงาน หอวัฒนธรรม
สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เดิมคือ สำนักศิลปวัฒนธรรม มีพันธกิจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย ศูนย์ฝึกอบรมและบริการวิชาการ ทำหน้าที่บริการวิชาการ ต่อมาศูนย์วิจัยและศูนย์ฝึกอบรมได้ยุบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกันในปี พ.ศ. 2538 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิจัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และในปี 2542 วันที่ 12 ตุลาคม 2542 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิจัยและบริการวิชาการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 วันที่ 14 มิถุนายน 2547 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีอีกครั้งหนึ่ง จึงมีผลทำให้สำนักวิจัยและบริการวิชาการและสำนักศิลปวัฒนธรรมยุบรวมกันมีชื่อใหม่ว่า “สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม”ปรัชญา “องค์กรเข้มแข็ง เครือข่ายเข้มแข็ง สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
วิสัยทัศน์ “ภายในปี 2564 จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการพันธกิจโดยใช้วัฒนธรรมและชุมชนเป็นรากฐานแห่งการพัฒนาองค์ความรู้สู่นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์”
พันธกิจ
1. บริหารจัดการองค์กรร่วมสมัยตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการ บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น
4. ส่งเสริม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และความเป็นไทย โดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ และบูรณาการงานตามพันธกิจหลักของหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ
เอกลักษณ์ “องค์กรเข้มแข็ง เครือข่ายเข้มแข็ง สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
อัตลักษณ์ “ภายในปี 2564 จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการพันธกิจโดยใช้วัฒนธรรมและชุมชนเป็นรากฐานแห่งการพัฒนาองค์ความรู้สู่นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์”
ค่านิยมองค์กร
ค่านิยมหลักขององค์กร (Core Value) นั้น เป็นแก่นสำคัญที่ทุกคนในองค์กรจะยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน สำหรับสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมเป็นที่มาแห่งความสำเร็จ ซึ่งในการปฏิบัติงานทุกตำแหน่ง ถ้าหากบุคลากรภายในองค์กรมีความศรัทธาในภูมิปัญญาขององค์กรก็ยอมประสบกับความสำเร็จ แต่เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรจำได้ง่ายจึงได้ทำตัวอักษรตัวหน้ามาเรียงตามลำดับได้ว่า SMART
1. Service Mind การมีจิตใจมุ่งบริการ
2. Moral and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
3. Accountability การมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงานและสาธารณะ
4. Realistic เป้าหมายต้องสามารถเป็นจริงได้
5. Teamwork การมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละองค์กร ที่ถูกหล่อหลอมมาจากความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ จนสะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
1. มีความศรัทธา จงรักภักดีต่อองค์กร คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นใน กฎระเบียบและธรรมาภิบาล
2. มีความตื่นตัว กระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลง และมีจิตใจของการให้บริการ
3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานอย่างสร้างสรรค์ ขยัน อดทน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. ทำงานเป็นทีม เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง สามัคคี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในองค์กร