งานแทงหยวก

การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท


อุปกรณ์ ประกอบด้วย มีดสำหรับแทงหยวก โดยการตีดิบ ไม่ต้องเอาไปเผาไฟ ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ วัสดุ ที่ใช้ คือ ต้นกล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งาน จึงนิยมใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้าสาว คือต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่าย กระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจน
ขั้น ตอนการแทงหยวกและประกอบเข้าเป็นลายชุด นั้น มี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือขั้นเตรียมหยวกกล้วย ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก และขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีคุณค่าสูงด้านศิลปะ จิตใจ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงควรได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป


ใน ปัจจุบัน คำว่า “ร้านม้า” จะไม่ค่อยได้ยินบ่อยนักหรือบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินเลยก็ว่าได้ หรือ อาจจะได้ยินแล้วก็ตีความตามรูปคำไปเลยว่าเป็นที่ม้าอยู่อาศัยหรือ ที่เลี้ยงม้า ขายม้า จึงขอนำเสนอเรื่องร้านม้า เเละการสลักหยวกกล้วย (เเทงหยวก)
การสลักหยวกหรือ การแทงหยวก เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งที่อยู่ในช่าง สิบหมู่ ประเภทช่างสลักของอ่อน ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี ขึ้นไป มีประเพณีที่เกี่ยวกับการแทงหยวกกล้วยอยู่ 2 อย่าง คือ การโกนจุกเเละการเผาศพ (โดยเฉพาะศพผู้ที่มีฐานะปานกลาง) งานโกนจุกหรือประเพณีการโกนจุก จะมีการจำลองเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อ เ เล้วตกเเต่งภูเขาด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ส่วนภูเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ตรงกลางร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้เเล้วหุ้มด้วยหยวกกล้วยเเกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ประเพณีการเผาศพก็เช่นกันจะทำ ร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้แล้วประดับด้วยหยวกกล้วยแกะสลักอย่างงดงาม


การสลักหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัดจนเกิดความชำนาญพอ สมควร เพราะการสลักหยวกกล้วยนั้นช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อนจับมีดได้ก็ ลงมือสลักกันเลยทีเดียว จึงเรียกตามการทำงานนี้ว่า “การแทงหยวก” ประกอบกับมีดที่ใช้มีปลายเเหลม เมื่อพิจารณาดูเเล้วก็เหมาะสมที่จะเรียกว่า “แทงหยวก”

การแทงหยวกกล้วย 

หยวก คือ ลำต้นกล้วยที่ลอกออกมาเป็นกาบหรือแกนอ่อนของลำต้นกล้วย มีสีขาว งานเเทงหยวกมักใช้หยวกหรือกาบกล้วยตานี เพราะมีสีขาวดีและไม่สู้ที่ จะเปลี่ยนสีเร็วนัก
งานแทง หยวก คือ การนำเอากาบกล้วยมาทำให้เป็นลวดลายต่างๆโดยวิธีแทงด้วยมีดเเทงหยวกใช้สำหรับ การประดับตกเเต่งที่เป็นงานชั่วคราว ตัวอย่างเช่น การประดับเบญจารดน้ำ ประดับร้านม้าเผาศพ ประดับจิตรการธารการเเกะสลัก หยวกกล้วยนั้นจะทำใน พิธีโกนจุกงานศพ


ในวรรณคดียังปรากฏถึงความสำคัญของการแกะสลักหยวกกล้วย ที่ปรากฎในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน เมื่อพระไวยแล้วกล่าวถึงการทำพี้ว่า ให้ขุดศพนางวันทองขึ้นมา แล้วกล่าวถึงการทำพิธีว่าสถานที่วางหีบศพนั้นตกแต่งอย่างสวยงามเเละวิจิตร พิสดารเป็นรูปภูเขา มีน้ำตกมีสัตว์ต่างๆ มีกุฏิพระฤษี มีเทวดา เช่น รามสูร เมขลา ที่ตั้งศพที่เป็นภูเขานี้เห็นจะเป็นประเพณีไทยที่เก่าเเก่ ที่ทำเช่นนั้นก็คงหมายถึงว่าเขา พระสุเมรุคงเป็นที่เทวดาอยู่ตรงกับสวรรค์ ผู้ตายนั้นถือว่าจะต้องไปสวรรค์ เช่น พระเจ้าแผ่นดินตาย เรียกว่า “สวรรคต” จึงนิยมทำศพให้เป็นภูเขา พระสุเมรุหรือเมรุคือทำที่ตั้งเป็นภูเขาทั้งสิ้น ต่อมาคงจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น งานหลวงเล็กทำเป็นภูเขา เปลี่ยนทำเป็นเครื่องไม้เพราะอาจทำให้สวยงามให้เป็นชั้นลดหลั่นลงมาเป็น เหลี่ยมจะหักมุมย่อให้วิจิตรพิสดารอย่างใดก็ได้ เเต่เเม้จะเอาภูเขาพระสุเมรุ จริง ๆ ออกไปก็ยังคงเรียกเมรุตามที่เคยเรียกมา เมรุ จึงกลายเป็นที่ตั้งศพไป

 ขั้นตอนการแทงหยวกกล้วย

วิธีการแทงหยวก/การฉลุลาย หยวกเป็นวัสดุที่อ่อน ชำรุดเสียหายง่าย การแทงหยวกจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญ มีดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการแทงหยวก เป็น เครื่องมือที่มีความคม ดังนั้นหากผู้แทงไม่มีความชำนาญจะทำให้ลวดลายขาดออกจากกันสิ่งที่ควรคำนึง ถึงในการแทงหยวก คือ วิธีการจับมีดจะต้องให้ตั้งฉากกับหน้าตัดของหยวก จะทำให้รอยตัดตั้งฉากสวยงาม

๑. การแทงลายฟันหนึ่ง ลายฟันหนึ่งเป็นลายฉลุขั้นต้นที่จะนำไปสู่การสลักขั้นต่อไปที่ยากกว่า ผู้แทงลายจะต้องกำด้ามมีดไว้ในอุ้งมือ ปักคมมีดให้ตั้งฉากกับหยวกเริ่มจากกการแทงที่ยอดลายแล้วบิดมีดแทงกลับขึ้นลง สลับกัน ไปตลอดชิ้นหยวก

๒. การแทงลายฟันสามและฟันห้า มีวิธีการฉลุเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง แตกต่างกันที่ลายฟันสามกับลายฟันห้าเป็นลายขนาดใหญ่ เวลาฉลุจึงต้องคอยระมัดระวังเพื่อให้ลายทั้งสองซีกเท่ากัน รอยบากหรือรอยหยักเท่ากันเมื่อแยกลาย

๓. การแทงลายหน้ากระดานและลายเสา จัดว่าเป็นลายที่ยากที่สุด และเป็นลายที่ช่างมักจะแสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ และมักไม่มีการเขียนลายลงบนหยวก ช่างแทงหยวกจะแทงลายลงบนหยวกโดยไม่ต้องร่างแบบ จะต้องมีความชำนาญ และมีความจำอย่างแม่นยำในการแทงลาย อนึ่ง ใน การแทงลายหน้ากระดานและลายเสาไม่ต้องคำนึงถึงความเท่ากันของหยวกทั้งสอง ชั้น แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการแทงเป็นพิเศษ มิฉะนั้นลายอาจขาดได้ง่าย

๔. การแรลาย คือการสอดไส้หรือตัดเส้นตัวลายเพื่อให้ตัวลายมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เหตุที่ต้องมีการแรลาย เนื่องจากในการแทงหยวกนั้นทำได้แต่โครงร่างหยาบ ๆ ของตัวลายเท่านั้น ไม่สามารถแทงรายละเอียดของตัวลายได้ เพราะจะทำให้ตัวลายขาดจากกัน ดังนั้นการแสดงรายละเอียดของตัวลายจึงต้องกระทำโดยการแรลาย วิธีการแรลาย ใช้ปลายมีดกรีดลงบนผิวของหยวกเพียงเบา ๆ พอให้เป็นรอย ในขณะที่กรีดจะใช้นิ้วชี้ประกองใบมีดให้เลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการ แล้วใช้สีทาให้ซึมเข้ารอยที่แรลายไว้ จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด จะเห็นลายสีอย่างชัดเจน แบบของลายแทงหยวก


ลายแทง หยวกนิยมใช้ลายไทยโบราณเป็นลายมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันก็ยังลายไทยแบบดั้งเดิมอยู่ อาจจะมีการประยุกต์ลายขึ้นใหม่บ้าง แต่ก็ยังใช้ลายไทยเป็นพื้นฐาน หรือเป็นหลักในการแทงหยวกเสมอ ดังนี้

๑.ลายฟันหนึ่ง หมายถึงลายที่มีหนึ่งยอดเป็นลวดลายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัด แทงหยวกจะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ ขนาดของฟันจะต้องเท่ากันทุกซี่ แทงเป็นเส้นตรงไม่คดโค้ง และต้องฉลุให้เท่ากันทั้งสองด้าน ลายฟันหนึ่งเป็นลวดลายที่ช่างแทงหยวกใช้กันทุกท้องถิ่นมีทั้งฟันขนาดเล็ก และฟันขนาดใหญ่ ลายฟันหนึ่งขนาดเล็กเรียกว่า ลายฟันปลา ลายฟันหนึ่ง เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้าง

๒. ลายฟันสาม หมายถึงลายที่มีสามยอดเป็นลวดลายอีกแบบหนึ่งที่ช่างแทงหยวกนิยมใช้กันทุกท้องถิ่น ขนาดของลายฟันสามโดยทั่วไป มีขนาดความกว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร สูงประมาณ เซนติเมตร ลายฟันสาม เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง

๓. ลายฟันห้า หมายถึงลายที่มีห้ายอด มีขนาดใหญ่กว่าฟันสามเล็กน้อย มีขนาดความกว้างประมาณ ๙ เซนติเมตร สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร การแทงลายฟันห้ายากกว่าลายฟันสาม เนื่องจากต้องแทงถึงห้าหยักหรือห้ายอด หากไม่มีความชำนาญด้านซ้ายและด้านขวาจะมีขนาดไม่เท่ากัน และโดยเหตุที่ขนาดฟันห้าเป็นลายขนาดใหญ่ การแรลายจึงต้องสอดไส้เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงามเด่นชัดยิ่งขึ้น ลายฟันห้า เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่งและลายฟันสาม

๔.ลายน่องสิงห์หรือแข็งสิงห์ เป็นลายที่ประกอบส่วนที่เป็นเสาและนิยมใช้กันในทุกท้องถิ่นไม่แตกต่างกันลายน่องสิงห์เป็นลายที่แทงยาก กล่าว คือในการฉลุลายน่องสิงห์เป็นการฉลุเพียงครั้งเดียวแต่เมื่อแยกออกจากกันจะ ได้ลายทั้งสองด้านและทั้งสองด้านจะต้องเท่ากันเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง ฟันสาม และฟันห้า แต่ลายน่องสิงห์ เป็นลายตั้งประกอบเสาด้านซ้ายและด้านขวา

๕. ลายหน้ากระดาน ใช้เป็นส่วนประกอบของแผงส่วนบน ส่วนกลางและส่วนฐาน ชื่อของลายหน้ากระดายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ ลายรักร้อย ลายก้ามปู ลายเครือเถา ลายดอก เป็นต้น

๖. ลายเสา เป็นลายที่มีความสำคัญเนื่องจากการแทงกระทำได้ยากเช่นเดียวกับลายหน้ากระดานส่วนฐาน ออกแบบลวดลายแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ช่างแทงหยวกมักจะออกแบบลวดลายมีความวิจิตรพิสดาร เพราะลายเสา เป็นลายที่จะแสดงฝีมือของช่างแต่ละคนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกวดประชันฝีมือกันอีกนัยหนึ่ง ลายที่มักใช้ในการแทงลายเสา ได้แก่ ลายเครือเถา เช่น มะลิเลื้อย ลายกนก ลายรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่นปลา นก ผีเสื้อ มังกร สัจว์หิมพานต์ ลายดอกไม้ ลายตลก ลายอักษร ลายสัตว์ ๑๒ ราศี

๗. ลายกระจังหรือลายบัวคว่ำ เป็นลายที่ใช้ประกอบกับลายฟันสาม และลายฟันหนึ่ง นิยมใช้เป็นส่วนยอดและส่วนกลางเท่านั้น ไม่นิยมใช้เป็นส่วนฐาน มีหลายแบบ ได้แก่ กระจังรวน